เรื่องสำคัญต้องรู้! จุดเด่นของ (ไวยากรณ์) ภาษาจีนคืออะไร?

25613
SHARE

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ ถ้าใครติดตามสุ่ยหลินมาจะรู้ว่าสุ่ยหลินเคยเล่าให้ฟังว่า ไวยากรณ์ภาษาจีน นั้นถือว่ามีความใกล้เคียงกับภาษาไทยมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าไวยากรณ์จีนกับไทยจะเหมือนกันเป๊ะๆ เพราะเป็นคนละภาษานะ จะเหมือนเด๊ะก็เป็นไปไม่ได้ โพสนี้สุ่ยหลินเลยอยากขอเล่าถึง “จุดเด่นของ (ไวยากรณ์) ในภาษาจีน” ให้ฟังค่ะ การันตีว่าอ่านจบแล้วจะเข้าใจมากขึ้นเลยล่ะ

1. ลำดับของคำ (语序) ในภาษาจีนนั้นสำคัญ

เรื่องแรกก็คือลำดับของคำ เพราะถ้าเราเรียงลำดับผิด ความหมายของคำก็จะผิดไปด้วยนะ เช่น


bù pà là
ไม่กลัวเผ็ด (ความหมายคือ คนพูดกินเผ็ดได้)


pà bù là
กลัวไม่เผ็ด (ความหมายคือ คนพูดอยากได้เผ็ดๆ เลยกลัวว่าอาหารจะไม่เผ็ดพอ)

朋友男朋友
wǒ péngyou de nánpéngyou
แฟนของเพื่อนฉัน

男朋友朋友
wǒ nánpéngyou de péngyou
เพื่อนของแฟนฉัน
*男朋友 คือแฟนที่เป็นผู้ชาย ดังนั้น 我 ฉัน ในที่นี่ก็อนุมานได้ว่าเป็นผู้หญิงนะจ๊ะ เอ? จริงๆแล้วสมัยนี้เป็นผู้ชายก็ได้นะเนี่ย อิ อิ

在桌子上
Tā zài zhuōzi shàng tiào.
เขากระโดดบนโต๊ะ (อยู่บนโต๊ะอยู่แล้ว แล้วก็กระโดดอยู่บนโต๊ะ)

在桌子上
Tā tiào zài zhuōzi shàng.
เขากระโดดขึ้นไปบนโต๊ะ (แต่ก่อนอาจจะอยู่ที่พื้น จากนั้นจึงกระโดดขึ้นมาบนโต๊ะ)

 

2. คำขยายไว้ข้างหน้า คำเสริมไว้หลัง

คือจะมีคำที่เป็นตัวยืน (中心语) แล้วมีคำอื่นมาขยายหรือเสริมคำนั้น

โดยที่คำที่มาเสริมจะวางไว้หน้าคำหลัก (และเวลาแปลก็จะแปลจากหลังมาหน้า) เช่น


wǒ de shū
หนังสือของฉัน

汉语语法
Hànyǔ yǔfǎ
ไวยากรณ์ภาษาจีน

高兴
gāoxìng de shuō
พูดอย่างดีใจ

ส่วนคำที่มาเสริมจะวางไว้หลังคำหลักค่ะ เช่น

过来
zǒu guòlái
เดินเข้ามา (เสริมบอกทิศทาง)

不懂
tīng bu dǒng
ฟังไม่เข้าใจ (เสริมบอกความเป็นไปได้)

了三个小时
kànle sān gè xiǎoshí
อ่าน (หรือดู) เป็นเวลา 3 ชั่วโมง (เสริมบอกระยะเวลาที่เกิดกริยา)

 

3. ภาษาจีนไม่มี tense ไม่ผันกริยา

แต่จะใช้ตัวช่วยอื่นๆในการบอกเหตุการณ์นั้นว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต

我学汉语。
Wǒ xué Hànyǔ.
ฉันเรียนภาษาจีน

我学汉语
Wǒ xué Hànyǔ le.
ฉันเรียนภาษาจีนแล้ว

正在学汉语。
Wǒ zhèngzài xué Hànyǔ.
ฉันกำลังเรียนภาษาจีน

ข้อสังเกตคือ กริยา 学 คงรูปแบบเดิม ไม่ผันตามกาลเวลาเหมือนภาษาอังกฤษ ซึ่งลักษณะตรงนี้เหมือนภาษาไทยเลยค่ะ

อ่านโพสนี้เพิ่มเติมเลยค่ะ ภาษาจีนมี Tense หรือป่าว? วันนี้มีเฉลยนะตะเอง

 

4. การสร้างประโยคในภาษาจีน จะอาศัยการเรียงคำเพื่อสร้างลำดับเหตุการณ์

พูดแล้วเหมือนยากแต่จริงๆ จุดนี้เหมือนกับภาษาไทยเลยค่ะ

我今天晚上回家做菜吃饭
Wǒ jīntiān wǎnshang huíjiā zuòcài chīfàn.
เย็นวันนี้ฉันกลับบ้าน ทำอาหาร กินข้าว
(เหตุการณ์เรียงลำดับกันมา คือ 回家 กลับบ้าน แล้ว 做菜 ทำอาหาร จากนั้นจึง 吃饭 กินข้าว)

我每天起床吃完饭开车去上班
Wǒ měitiān qǐchuáng chī wán fàn jiù kāichē qù shàngbān.
ทุกวันฉันตื่นนอน กินข้าวเสร็จแล้วก็ขับรถไปทำงาน
(เหตุการณ์เรียงลำดับกันมา คือ 起床 ตื่นนอน 吃完饭 กินข้าวเสร็จ 开车 ขับรถ 去上班 ไปทำงาน)

 

5. ลักษณนามในภาษาจีนมีเยอะแยะมากมาย

เช่นเดียวกับภาษาไทยค่ะ ภาษาจีนก็มีการใช้ลักษณนามเหมือนกัน แต่ลักษณนามในภาษาไทยที่ว่ามีมากแล้ว เมื่อเทียบกับภาษาจีนแล้วมีมากกว่าภาษาไทยเยอะแยะเลยค่ะ (เคยอ่านเจอ 200+ ตัว)

 

6. ชนิดของคำกับหน้าที่ของคำในประโยค ไม่ได้จับคู่อย่างตรงไปตรงมา บางครั้งมีสลับคู่ชู้ชื่นกันได้นะ

อย่างเช่น คำนามไม่จำเป็นที่จะต้องทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมเท่านั้น เพราะบางทีก็เป็นภาคแสดงได้
เช่น 今天星期一 [Jīntiān Xīngqīyī.] วันนี้วันจันทร์ (พูดเหมือนภาษาไทยเลยและประโยคนี้สมบูรณ์โดยไม่ต้องมีกริยา แต่ภาษาอังกฤษทำแบบนี้ไม่ได้)

คำกริยาไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นภาคแสดงเสมอไป เพราะบางครั้งก็เป็นประธานได้
เช่น 游泳是我最喜欢的运动。
[Yóuyǒng shì wǒ zuì xǐhuan de yùndòng.]
ว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ฉันชอบที่สุด

ตรงนี้ต่างจากภาษาไทยนิดหน่อย ตรงที่ภาษาไทยเราสามารถใช้ “การ” หรือ “ความ” วางไว้หน้าคำกริยาหรือคำคุณศัพท์แล้วทำให้มันเปลี่ยนเป็นคำนามได้ เช่น การว่ายน้ำ ความตื่นเต้น ความเร็ว (แต่ภาษาจีนนั้นไม่ต้องเปลี่ยนอะไรใดๆ เลย)

คำคุณศัพท์ ปกติจะขยายคำนาม แต่ในภาษาจีนก็เป็นภาคแสดงได้เหมือนกัน
他很[Tā hěn gāo] เขาสูงมาก

กล่าวโดยสรุปก็คือคำในภาษาจีนถึงแม้จะเป็นชนิดของคำแบบไหนก็สามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่างในประโยค ซึ่งจะสัมพันธ์กับตำแหน่งที่วางอยู่ในประโยคด้วยนั่นเอง

จบแล้วค่ะ โพสนี้ความตั้งใจคือต้องการชี้ให้เห็นจุดเด่นของ (ไวยากรณ์) ภาษาจีน เพื่อที่ให้เราเข้าใจ ใช้ถูกและระมัดระวังการใช้ผิดเพราะความคุ้นเคยในภาษาแม่ของเรานั่นเองจ๊ะ หวังว่าคงมีประโยชน์กับแฟนเพจนะคะ ถ้าดีก็แชร์เก็บไว้หรือเผื่อให้เพื่อนที่สนใจภาษาจีนเหมือนกันมาอ่านก็ได้นะ ช่วยๆ กันเรียนจีน ให้ได้จีน! นะจ๊ะทุกคน

สุ่ยหลิน^^