บอกเวลาจะพูดยังไงให้ถูก?

13935
SHARE

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน โพสนี้มารู้จักคำบอกเวลาในภาษาจีนกันนะคะ หลายคนอาจจะบอก เรียนมาตั้งนานแล้ว รู้แล้วจ๊ะเธอ แต่แน่ใจหรือเปล่าว่าใช้แบบนี้จริงๆ เพราะคำบอกเวลาในภาษาจีนมีเยอะมาก ใช้กันหลากหลายสุดๆ อยากรู้ว่าจะใช้ให้ถูกได้ยังไง พูดไปแล้วคนจีนฟังรู้เรื่องไม่ต้องมาย้อนถามว่าตกลงที่นัดเนี่ยใช่เวลานี้หรือเปล่า? ต้องติดตามโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ

เล่าก่อนว่าคนสมัยก่อนไม่ว่าคนจีน คนไทยก็ไม่มีนาฬิกา การดูเวลาที่ง่ายที่สุดก็คือดูเวลาจากแสงแดดของพระอาทิตย์ พอสังคมเริ่มพัฒนาขึ้น คนเริ่มพัฒนาความรู้ต่างๆ มากขึ้น ก็เกิดการพัฒนานาฬิกาแดด

นาฬิกาแดดยุคดั้งเดิมที่สุดก็คือการหาไม้อะไรสักอย่างมาปักลงพื้นแล้วดูเงาของไม้แท่งนั้นที่ตกกระทบพื้นเพื่อบอกช่วงเวลา แม้กระทั่งพระราชวังต้องห้ามก็ยังมีนาฬิกาแดดที่เป็นแบบนี้อยู่เลยค่ะ เพียงแต่อลังการกว่า ตั้งอยู่บนแท่นหินของระเบียงของวัง ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่าการบอกเวลาด้วยนาฬิกาแดดเป็นการบอกเวลาแบบคร่าวๆ ไม่เป๊ะ กะๆ เอาเพราะไม่ใช่ระบบดิจิตอล ละเอียดขนาดเป็นวินาทีแบบนั้น

ดังนั้น พอในช่วงหลังถึงแม้ว่านาฬิกาจริงๆ จะถูกคิดค้นขึ้นมาแล้ว แต่คำบอกเวลาในภาษาจีนก็ยังมีจุดเด่นเหมือนเดิม ตรงที่ ส่วนใหญ่ช่วงเวลาในการบอกเวลานั้นเป็นการบอกช่วงเวลาคร่าวๆ ระหว่างกี่โมงถึงกี่โมง เราจะเห็นได้จากว่าไม่มีการกำหนดตายตัวแน่นอน ว่าต้องใช้คำนี้กับเวลานี้เท่านั้น แม้แต่คนจีนเองก็ยังใช้ไม่เหมือนกัน เช่น บางคนพูดว่า 晚上 6 点 คือ 6 โมงเย็น บางคนพูดว่า 傍晚 6 点 แทน

เมื่อเข้าใจตรงกันแล้วก็เริ่มกันเลยค่ะ ในโพสนี้ของสุ่ยหลินขอแบ่งกันบอกเวลาออกเป็น 2 ระดับ สำหรับผู้เรียนระดับต้น เพิ่งเริ่มเรียน จำเอาไปใช้ง่ายๆ กับผู้เรียนระดับกลางนะ ทั้ง 2 ระดับสามารถจำเอาไปใช้ได้อย่างแน่นอน และระดับต้นก็ไม่ต้องน้อยหน้าถึงแม้ระดับต้น แต่ก็สามารถบอกเวลาได้ครบถ้วน สื่อสารรู้เรื่องแน่นอน สุ่ยหลินคอนเฟิร์ม!

การบอกเวลาระดับต้น

早上 [zǎoshang]
เช้าตรู่ 05.00-08.00 น.

上午 [shàngwǔ]
ตอนเช้า 08.00 – 12.00น. จากช่วงเวลาเช้าตรู่ถึงก่อนเที่ยง

中午 [zhōngwǔ]
ประมาณเที่ยงวัน 12.00-13.00 น.

下午 [xiàwǔ]
ตอนบ่าย 13.00 – 18.00 น. ตั้งแต่เที่ยงไปจนถึงก่อนพระอาทิตย์ตก

晚上 [wǎnshang]
ตอนเย็น 19.00-24.00 น. ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกแล้ว เข้าสู่ความมืด

半夜 [bànyè]
เที่ยงคืน 24.00 น.

凌晨 [língchén]
ตี 01.00 – .05.59 น.

วิธีการบอกเวลาในภาษาจีน

จะบอกเวลาโดยเรียงจากใหญ่มาเล็กเสมอ
รูปแบบ: ช่วงเวลา + ตัวเลข + 点

早上 6 点。
Zǎoshang 6 diǎn.
6 โมงเช้า

晚上 6 点。
Wǎnshang 6 diǎn.
6 โมงเย็น

上午 10 点。
Shàngwǔ 10 diǎn.
10 โมงเช้า

下午 3 点。
Xiàwǔ 3 diǎn.
บ่าย 3 โมง

การบอกเวลาระดับกลาง

หลายคนอยากรู้ศัพท์การบอกเวลาให้ละเอียดมากกว่านี้ มาดูกันต่อเลยค่ะว่านอกจากจะใช้ศัพท์ข้างบนแล้ว ยังใช้ศัพท์เพื่อบอกเวลาอะไรได้อีกบ้าง

早上 [zǎoshang] / 早晨 [zǎochén]
เช้าตรู่ 05.00-08.00 น.

上午 [shàngwǔ]
ตอนเช้า 08.00 – 12.00น. จากช่วงเวลาเช้าตรู่ถึงก่อนเที่ยง

中午 [zhōngwǔ]
ประมาณเที่ยงวัน 12.00-13.00 น.

下午 [xiàwǔ]
ตอนบ่าย 13.00 – 18.00 น. ตั้งแต่เที่ยงไปจนถึงก่อนพระอาทิตย์ตก

傍晚 [bàngwǎn]
ตอนโพล้เพล้ 18.00-19.00 น. ใกล้มืด

晚上 [wǎnshang]
ตอนเย็น 19.00-24.00 น. ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกแล้ว เข้าสู่ความมืด

半夜 [bànyè] / บางทีเรียก 午夜 [wǔyè]
เที่ยงคืน 24.00 น.

深夜 [shēnyè]
เวลาหลังเที่ยงคืน

凌晨 [língchén]
ตี 01.00 – .05.59 น. ฟ้าเริ่มสาง

清早 [qīngzǎo]
ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์กำลังใกล้ๆ ขึ้น

前半夜 [qiánbànyè] /上半夜 [shàngbànyè]
ตั้งแต่ฟ้ามืดจนถึงก่อนเที่ยงคืน

后半夜 [hòubànyè] /下半夜 [xiàbànyè]
ตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงฟ้ากลับมาสว่าง

แค่การบอกเวลาในภาษาจีนยังพูดได้เยอะขนาดนี้เลยนะคะ ค่อยๆ ฝึก ค่อยๆ ใช้ เดี๋ยวก็เป็นเองค่ะ^^

 “ซีรีส์คำเหมือน HSK 1-6 ไวยากรณ์จีนง่าย ๆ สไตล์สุ่ยหลิน” (เวอร์ชั่น SE-ED) มีขายที่ร้านหนังสือ SE-ED และ SE-ED Online  รวมไปถึง shopee ก็มีแล้วนะคะ (เอาชื่อหนังสือไป search หาได้เลยยย) ใครจะสอบ HSK ระดับไหนหรือจะสอบ PAT7.4 หนังสือเล่มนี้ช่วยเราแก้ปัญหาเรื่องของคำคล้าย 近义词 ที่เราคนไทยชอบสับสนได้แน่นอน!

หนังสือราคา 250 บาทหนา 344 หน้า อ่านตัวอย่างหนังสือก่อนซื้อได้ที่นี่เลยค่ะ http://bit.ly/ซีรีส์คำเหมือนHSK1-6

ซีรีส์คำเหมือน-HSK1-6
SHARE
Previous articleพูดดีเป็นศรีแก่ปาก
Next articleภาษาจีนกลางของคนจีนทางเหนือ VS ภาษาจีนกลางของคนจีนทางใต้??
สุ่ยหลิน เริ่มต้นจากการเป็นนักเขียนหนังสือภาษาจีน ตอนนี้มีผลงานหนังสือ 14 เล่มเป็นบก.หนังสืออีก 1 เล่ม คอร์สออนไลน์ Chinese Hack (ภาษาจีนเบื้องต้น) คอร์สออนไลน์ Pinyin และ คอร์สออนไลน์ HSK3 และ HSK4 ค่ะ เป้าหมายของสุ่ยหลินคือ ตั้งใจทำหนังสือ โพส คลิป Live และคอร์สออนไลน์สอนภาษาจีนที่เข้าใจง่าย สนุกไม่น่าเบื่อแต่ใช้งานได้จริงค่ะ นอกจากนี้ สุ่ยหลินยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์ภาษาจีน ChineseBang 中文棒 อีกด้วยค่ะ