ซีรีย์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน 对 [duì] และ 跟 [gēn] ชั้นกับเธอ..จะใช้คำไหนดี? (ไวยากรณ์จีน)

53329
SHARE

สวัสดีค่ะ มิตรรักแฟนเพจที่รักของสุ่ยหลิน สุ่ยหลินกลับมาอีกครั้งกับคอนเซปต์เดิม เรียนภาษาจีนสนุก เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง กับชุดซีรีย์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน 对 (duì) และ 跟 (gēn) ซึ่่ง 2 คำเนี้ย สุ่ยหลินมั่นใจฝุดๆ ว่าเราที่เรียนภาษาจีนกันมา ต้องรู้จักกันชัวร์ๆ แต่สองคำนี้เวลาใช้มันต่างกันตรงไหนอ่ะ ??

เพื่อความทารุณแก่แฟนเพจ อิ อิ สุ่ยหลินขอเริ่มต้นด้วยคำถามซะเรยยย ถามว่า 2 ประโยคข้างล่างนี้ ต่างกันยังไงจ๊ะ?

他说了。 [Wǒ gēn tā shuō le.] กับ 他说了。 [Wǒ duì tā shuō le.]

แปลว่า “ฉันพูดกับเค้าแล้ว” ??? เหมือนกันไหม?

ถ้าไม่เห็นจะต่าง งั้นต้องลองอีกสักหน่อย

我说他要去旅行。
Tā gēn wǒ shuō tā yào qù lǚxíng.
เค้าคุยกับชั้นว่าเค้าจะไปเที่ยว

医生你说了什么?
Yīshēng duì nǐ shuōle shénme?
ตกลงว่าหมอบอกเธอว่าอะไร (ป่วยเป็นอะไร?)

พอจะเห็นความแตกต่างไหมเอ่ย? สุ่ยหลินจะเฉลยล่ะน้าาา

ประโยคสีส้มข้างบนเนี่ย ทั้ง 对 และ 跟 สามารถใช้แทนกันได้ค่ะ แต่ sense ของประโยคมันจะต่างกันนิดหน่อย 他说了。= ชั้นคุยกับเค้าแล้ว (เราทั้งคู่คุยกัน) แต่ถ้า 他说了。 = ชั้นบอกเค้าแล้ว (เน้นการพูดของชั้นฝ่ายเดียว)

งั้นทีนี้ถ้าจะให้เลือกระหว่าง 对 และ 跟 เพื่อสื่ออารมณ์ ความคิด ของคนพูดให้เป๊ะๆ ว่าสถานการณ์ไหนควรใช้ และ สถานการณ์ไหนควรใช้ ล่ะ มาติดตามชัดๆ แบบเคลียร์คัตในโพสนี้ได้เลยครัชชช^^

ก่อนอื่น มาดูโครงสร้าง ไวยากรณ์จีน ของทั้งคู่กันก่อนดีกว่านะคะ

+ บุคคล + กริยา
เช่น [Qǐng gēn wǒ lái.] เชิญตามอิชั้นมา

+ บุคคล/สิ่งของ + กริยา/คุณศัพท์
เช่น 汉语感兴趣 [Wǒ duì Hànyǔ gǎnxìngqù.] ผมสนใจภาษาจีน
朋友很大方[Tā duì péngyǒu hěn dàfang.] เค้าใจกว้างกับเพื่อนมาก

จะเห็นว่าทั้ง 对 และ 跟 สามารถใช้ในรูปแบบวางไว้หน้า บุคคล + กริยา ได้ทั้งคู่เลยค่ะ

จุดเด่นที่สำคัญเลยก็คือ 对 โดยปกติจะเป็นการสื่อสารหรือความสัมพันธ์ทางเดียว แต่ในขณะที่ 跟 จะเป็นการสื่อสารหรือความสัมพันธ์สองทางค่ะ หรือจะพูดอีกอย่างว่าแอ็กชั่นการกระทำของ 对 เป็นไปทางเดียว แต่กับแอ็กชั่นการกระทำของ 跟 เป็นแบบสองทาง (เหมือนนางเอกยุกใหม่ ไม่ยอมโดนตบฝ่ายเดียว แบบว่างั้นมีตบกลับด้วย อิ อิ)

แล้วสถานการณ์ไหน จะเลือกใช้อะไรดีล่ะ มาดูกันเลยยย!

1. เราใช้ 跟 ในสถานการณ์การพูดคุย อธิบาย หรือถกกันในประเด็นสนทนาค่า

ในลักษณะนี้ 跟 จะเหมาะสมกับตำแหน่งผู้ชนะเลิศมากกว่า เพราะการอธิบาย พูดคุยหรือถกประเด็นสนทนากัน จะพูดอยู่ฝ่ายเดียวได้ไงล่ะ จริงมะ (เพราะต้องมีการโต้ตอบ ตอบกลับ ฯลฯ) มาดูตัวอย่างรัวๆ กัน

我想您商量一下。
Wǒ xiǎng gēn nín shāngliáng yīxià.
ผมขอพูดคุยกับคุณหน่อย

你讲语法。
Wǒ gēn nǐ jiǎng yǔfǎ.
ชั้นกับเธอติวไวยากรณ์ (คนพูดคาดหวังว่าอธิบายกันแล้ว ก็ต้องมีโต้ตอบว่าเข้าใจรึปล่าวกันหน่อยนะ)

我有一件事想你说说。
Wǒ yǒu yī jiàn shì xiǎng gēn nǐ shuōshuo.
ชั้นมีเรื่องนึงอยากคุยให้เธอฟัง (คาดหวังเธอจะแสดงความคิดเห็นกลับด้วยนะ ไม่งั้นไปเล่าให้ต้นไม้ที่บ้านฟังก็ได้อ่ะ)

你提前我说就没问题。
Nǐ tíqián gēn wǒ shuō jiù méi wèntí.
เธอบอกชั้นล่วงหน้าก็โอเคแล้ว

2. นอกจากนี้เราก็ยังสามารถใช้ 跟 สำหรับการเปรียบเทียบได้ด้วยนะ

อันนี้สุ่ยหลินว่าชัดเจนนะคะ เพราะไม่งั้นจะเปรียบเทียบยังไงถ้าไม่มีอีกฝั่ง (ความสัมพันธ์สองทาง) ในกรณีการเปรียบเทียบแบบนี้จะใช้ 和 มาแทน 跟 ก็ย่อมได้เลยค่ะ ตัวอย่างจงมา

/和 我很不一样。
Tā gēn/hé wǒ hěn bù yīyàng.
เขากับชั้นเนี่ยไม่เหมือนกันเลยสักกะนิด

我的看法 /和 你的一样。
Wǒ de kànfǎ gēn/hé nǐ de yīyàng.
ความคิดชั้นกับเธอเนี่่ย เหมือนกันเด๊ะ

/和 以前不一样了。
Tā gēn/hé yǐqián bù yīyàng le.
เค้าเปลี่ยนไป๋ไม่เหมือนก่อน

3. ใช้ 对 เมื่อไหร่ล่ะ? ก็อย่างที่บอกไปข้างบนคือ 对 เนี่ยจะใช้เมื่อเป็นการสื่อสารหรือความสัมพันธ์แบบทางเดียว จากประธานไปยังกรรม

เริ่มง่ายๆก่อน ถ้ากรรมเป็นสิ่งของ อันนี้ก็ใช้ 对 แน่นอน ก็เพราะว่าสิ่งของมันตอบโต้เราไม่ได้นิ เช่น

汉语感兴趣
Wǒ duì Hànyǔ gǎnxìngqù.
ผมสนใจภาษาจีนนะคับ

แต่ถ้ากรรมเป็นบุคคลล่ะ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้พูดจะสื่อสารไปในทางไหน ลองเปรียบเทียบ 2 ประโยคนี้ดูนะจ๊ะ

他很好。
Wǒ gēn tā hěn hǎo.
ฉันกับเขา (ความสัมพันธ์) ไปได้สวย (เป็นแฟนก็ดี เป็นเพื่อนก็ได้–เป็นความสัมพันธ์สองทางของเราทั้งคู่)

他很好。
Wǒ duì tā hěn hǎo.
ชั้นเทคแคร์ (ทำดี) เค้ามากเลยอ่ะ (เห็นใจกันบ้างซิ–เป็นความสัมพันธ์ทางเดียว เพราะชั้นทำดีกับเค้ามาก แต่เค้าล่ะ จากประโยคนี้ไม่รู้ ไม่ได้บอก)

ซึ่งทั้ง 2ประโยคนี้ถูก grammar ทั้งคู่เลยนะคะ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจสื่อความหมายของคนพูดล่ะค่ะ ว่าอยากจะสื่อออกมาแบบไหน อย่าใช้ผิดล่ะ เพราะความหมายมันไปคนละเรื่องกันเลย

มาดูบทสรุประหว่าง对 และ 跟 ในฐานะที่เป็นคำบุพบทกันนะ

สรุปสั้นๆอีกรอบนะคะ

ใช้ เมื่อ
– การสื่อสารหรือความสัมพันธ์เป็นแบบสองทาง มีตอบโต้ ตอบสนอง
– กริยานั้น เกิดจากประธานกับกรรมของประโยคกระทำร่วมกัน

ใช้ เมื่อ
– เป็นการสื่อสารหรือความสัมพันธ์แบบทางเดียว
– กริยานั้น เกิดจากประธานกระทำกับกรรมของประโยค

ถึงบรรทัดนี้คุณผู้อ่านอาจจะบ่นสุ่ยหลินหน่อยๆว่า ให้อ่านมาตั้งนาน ทำไมไม่เขียนสรุปแบบนี้ตั้งแต่ต้นล่ะเธอวว์ อิอิ

สุ่ยหลิน^^

 

SHARE
Previous articleว่าด้วยเรื่อง 外来语 กับคลิปฮาฮา
Next articleภาษาจีน ไต้หวัน VS แผ่นดินใหญ่ จีนเดียวกันไหงพูดม่ะเหมือนกัลลล
สุ่ยหลิน เริ่มต้นจากการเป็นนักเขียนหนังสือภาษาจีน ตอนนี้มีผลงานหนังสือ 14 เล่มเป็นบก.หนังสืออีก 1 เล่ม คอร์สออนไลน์ Chinese Hack (ภาษาจีนเบื้องต้น) คอร์สออนไลน์ Pinyin และ คอร์สออนไลน์ HSK3 และ HSK4 ค่ะ เป้าหมายของสุ่ยหลินคือ ตั้งใจทำหนังสือ โพส คลิป Live และคอร์สออนไลน์สอนภาษาจีนที่เข้าใจง่าย สนุกไม่น่าเบื่อแต่ใช้งานได้จริงค่ะ นอกจากนี้ สุ่ยหลินยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์ภาษาจีน ChineseBang 中文棒 อีกด้วยค่ะ

4 COMMENTS

  1. thank you for explaining in great details with example.it helps me to understand the underlying details. usually I am allergic to grammar,even in English.i forget most of them. but I can use it fluently because I read and write every day .same as Chinese.i do not attend school.i study it myself religiously .so your website is quite useful, thank you so much.HSK is also very helpful indeed.

    • สุ่ยหลินได้ยินแล้วดีใจมากๆ ค่ะ รู้สึกจิตใจฮึกเหิมโจนทะยาน 555 ขอบคุณมากๆ นะคะที่่ติดตาม คุณsujati เก่งมากๆ เลยค่ะที่สามารถเรียนด้วยตัวเองก็ได้ สุ่ยหลินขอคารวะค่า^^