สวัสดีค่ะ มิตรรักแฟนเพจของสุ่ยหลินคะ วันนี้สุ่ยหลินกลับมาพร้อมกับเรื่องประโยค 把 (把字句) [“bǎ” zìjù] ซึ่งเป็นไวยากรณ์ที่ภาษาไทยม่ะมี? อ่าว! แล้วจะรู้ไปทำไมล่ะ?? คุณผู้อ่านอาจถาม ก็เพราะว่าภาษาจีนมี แล้วยังใช้เยอะ ใช้บ่อย แถมยังชอบออกสอบ HSK อีกด้วยค่าา
สุ่ยหลินเขียนโพสนี้ขึ้นมาเพราะมั่นใจพวกเราเหล่าคนรักภาษาจีน พอเรียนไปสักพักก็ต้องเจอ 把字句 แล้วก็ต้องงงงวยอย่างแน่นอน แต่วันนี้มีตอบทุกคำถามของ 把字句 ไวยากรณ์ที่ไม่มีในภาษาไทยตอน 1 ส่วนตอน 2 จัดมาทีหลัง ให้เราค่อยๆ รู้จัก 把字句 ให้ลึกซึ้งประหนึ่งเป็นญาติกันเลยทีเดียวเชียวน้า
ติดตาม 把字句 ในโพสนี้กะสุ่ยหลินครัชช
เริ่มแรกเรย มาดู 2 ประโยคนี้กันค่ะว่าน่างงมั๊ย?
ประโยคเบๆ (สิค) ของภาษาจีนเหมือนของไทยเลยค่ะ คือ
ประธาน + กริยา + กรรม
เช่น
我吃苹果了。
Wǒ chī píngguǒ le.
ชั้นกินแอปเปิลแล้ว
ง่ายม่ะ งั้นลองมาดู ประโยคที่ใช้ 把 กันบ้าง
我把苹果吃完了。
Wǒ bǎ píngguǒ chī wán le.
ชั้นเอาแอปเปิลมากินหมดแล้ว
ทั้ง 2 ประโยคก็แปลว่าเรากินแอปเปิลเหมือนๆ กันอ่ะนะ แล้วทำไมคนจีนต้องใช้ 把字句 ให้คนไทยหน้าหมวยอย่างสุ่ยหลินต้องงงด้วยนะ?
นั่นก็เพราะว่า 把字句 มันพิเศษ เพิ่มไข่ เย้ย…ไม่ช่าย มันมีออปชั่นเพิ่มขึ้นมาตรงที่เน้นว่า เกิดอะไรขึ้นกับกรรมของประโยค นั่นเองค่าาา เรียกว่าเน้นที่ผลลัพธ์ของการกระทำที่เกิดขึ้นกับกรรมของประโยค (result of the action on the object) ซึ่งการกระทำที่ว่าก็ต้องรู้ผลลัพธ์หรือสิ้นสุดลงแล้วด้วยนะจ๊ะ
โครงสร้างประโยค 把 (把字句)
เรามารู้จักโครงสร้างประโยคอย่างเบๆ ของ 把字句 กันก่อนนะคะ
ประธาน + 把 + กรรม (ผู้ถูกกระทำ) + กริยา + ส่วนเสริม
ลองดูตัวอย่าง
我 把 我的包 放 在桌子上了。
Wǒ bǎ wǒ de bāo fàng zài zhuōzi shàng le.
ชั้นเอากระเป๋าของชั้นวางไว้บนโต๊ะแล้ว
我 把 作业 写 完了。
Wǒ bǎ zuòyè xiě wánle.
ฉันเอาการบ้านมาทำเสร็จแล้ว
ไม่เห็นจะยากเนอะ อย่างที่บอกตอนแรก ว่า จุดเด่นๆที่เราจะใช้ 把字句 นั้นอยู่ที่เน้นว่าเกิดอะไรขึ้นกับกรรมของประโยค กริยาการกระทำนั้นดำเนินการและจบลงอย่างไร ที่สำคัญคือเราก็เห็นการเปลี่ยนแปลงของกรรมด้วยนั่นเองค่า
อย่างตัวอย่างบนก็คือ กระเป๋าถูกวางลงบนโต๊ะเรียบร้อยแล้ว (แต่ก่อนกระเป๋าอยู่ที่อื่นตอนนี้เปลี่ยนมาอยู่บนโต๊ะ-สังเกตว่ากรรมมีการเปลี่ยนแปลงย้ายสถานที่) การบ้านถูกทำเสร็จแล้ว (มีการบ้านคือกรรมของเรา เห้ยย…การบ้านคือกรรมของประโยคมีการเปลี่ยนแปลงคือถูกทำเสร็จแล้ว เย่! สุดดีใจ)
หมายเหตุ 把字句 สามารถใช้กับกริยาที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงก็ได้เช่นกัน เป็นการบอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับกรรมของประโยค และจะเกิดขึ้นแน่นอนในเวลาอันใกล้ รวมทั้งรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของกรรมด้วยเช่นกัน (โดยมากมักจะเป็นประโยคขอร้องหรือคำสั่ง) เช่น
请 把 车 开 到停车场去。
Qǐng bǎ chē kāi dào tíngchēchǎng qù.
โปรดขับรถไปที่ลานจอดรถ (ถึงแม้กริยายังไม่เกิด แต่ก็รู้ว่าจะจบลงเช่นไร)
ทำประโยค 把字句 ให้เป็นรูปปฏิเสธ ทำไง?
ให้ใส่คำปฏิเสธ 不 หรือ 没有 ข้างหน้า 把 เลยค่ะ ห้ามใส่หน้ากริยาของโครงสร้าง 把字句 นะจ๊ะเดี๋ยวจะผิดโครงสร้างเค้า มาดูตัวอย่างเลย
你不要把书拿走。
Nǐ bùyào bǎ shū ná zǒu.
เธออย่าเอาหนังสือไปนะ
我没有把我的手机弄丢。
Wǒ méiyǒu bǎ wǒ de shǒujī nòng diū.
ชั้นไม่ได้ทำมือถือของชั้นหาย
ใครสนใจว่า 不 และ 没有 ต่างกันยังไงนะ เชิญที่ลิงค์นี้เลยค่าา ซีรีย์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน สองศรีพี่น้อง 不 [bù] และ 没 [méi] ต่างกันยังไง??
งั้นเมื่อไหร่เราจะใช้ 把字句 ล่ะ?
เพราะว่า 把字句 ถือว่าเป็นประโยครูปแบบพิเศษ ที่ไม่ใช่ ประธาน + กริยา + กรรม แบบปกติ แล้วเราจะใช้มันตอนไหนล่ะ??
ในชีวิตจริงของคนจีนเนี่ย ใช้กันเป็นอัตโนมัติในชีวิตประจำวันไปแว้วค่า แต่คนไม่ใช่จีนอย่างเราๆ (ถึงหน้าจะให้ก็ตาม) ก็ขอให้จำข้อสังเกตเหล่านี้ไว้นะจ๊ะ
- กรรมของประโยคต้องเฉพาะเจาะจง หรือเป็นที่รู้กันทั้งคนพูดและคนฟังว่าหมายถึงสิ่งไหนล่ะ อันไหนล่ะ
- กริยาหรือการกระทำนั้นต้องทำให้กรรมของประโยคเกิดการเปลี่ยนแปลง
- การเปลี่ยนแปลงของกรรมที่ว่า ต้องสังเกตได้ อาจเป็นย้ายที่ เปลี่ยนเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง หรือหายไป ได้โหม้ดด
- ส่วนเสริมต้องบอกถึงความเปลี่ยนแปลงของกรรมที่เกิดจากกริยาในประโยคนะคะ
ลองดูประโยคนี้
我 把 饭 吃 饱了。 Χ
Wǒ bǎ fàn chī bǎo le.
กริยาคือ 吃 กรรมคือ 饭 ส่วนเสริมคือ 饱了 อันนี้ถูกตามไวยากรณ์ 把字句 มั๊ยเอ่ย?
ติ๊กต่อกๆๆ
ผิดไวยากรณ์นะจ๊ะ เพราะส่วนเสริมที่ว่าคือ 饱了 ดันเสริมบอกผลลัพธ์ประธาน 我 ซะนี่ว่า “ชั้นอิ่มแล้ว” ไม่ได้บอกผลลัพธ์ของกริยาที่มีต่อกรรมซึ่งก็คือ 饭 ดังนั้นประโยคนี้จะให้ถูกก็ไม่ต้องใช้ 把 แก้เป็น 我吃饱了 ก็ได้แล้วค่ะ
แต่ถ้าจะใช้ 把 ก็ต้องแก้ส่วนเสริมให้บอกผลลัพธ์ของกริยาที่มีต่อกรรมแทน เป็น 我把饭吃完了。
คราวนี้มาดูอีกสักประโยคนึง ว่าเข้าเกณฑ์ 4 ข้อบนมั๊ย? ยังไง?
请 把 这句话 翻译 成汉语。
Qǐng bǎ zhè jùhuà fānyì chéng Hànyǔ.
โปรดแปลประโยคนี้ให้กลายเป็นภาษาจีน
– กรรมของประโยค 这句话 เจาะจงเลยว่าเป็นประโยคนี้เลย
– กริยา 翻译 ทำให้กรรม 这句话 เปลี่ยนแปลง
– กรรม 这句话 เปลี่ยนแปลงสังเกตได้ เพราะกลายเป็นภาษาจีน
– ส่วนเสริม 成汉语 บอกถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของกรรม 这句话 ค่ะ
สรุปว่าประโยคนี้ถูกต้องค่ะ
สุ่ยหลินอยากจะบอกว่า จริงๆ แล้วไม่ต้องไปจำเกณฑ์ที่ว่าหรอกค่าา ที่ยกมาให้ดูเพื่อให้เราเข้าใจก่อน จากนั้นฝึกฝนบ่อยๆ ใช้ให้คล่องเป็นธรรมชาติเหมือนที่คนจีนเค้าใช้ๆกัน (ลองไปถามคนจีนสิ ว่าวิธีการใช้ 把 เป็นยังไง คำตอบที่ได้อาจทำให้เรางงกว่าเดิม เพราะเค้าก็ตอบม่ะได้เหมือนกัลถ้าไม่ใช่เหล่าซือ แต่เค้าก็ใช้ได้เป็นธรรมชาติและถูกต้องด้วยสิเออ)
กริยาอะไรใช้โครงสร้าง 把 ไม่ได้
ไม่ใช่กริยาทุกตัวนะจ๊ะที่ใช้โครงสร้าง 把 ได้ กริยาพวกที่เราดูไม่ออก มองไม่เห็นด้วยตาว่ากรรมมันเปลี่ยนแปลงเพราะกริยาตัวนั้นยังไง ในกรณีอย่างนี้เราไม่ใช้ 把 ค่ะ
กริยาพวกนี้ก็เช่น กริยาที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก และกริยาที่เป็นนามธรรมทั้งหลายแหล่นั่นเอง เช่น
爱 [ài] / 喜欢 [xǐhuan] / 想念 [xiǎngniàn] / 了解 [liǎojiě] / 害怕 [hàipà] / 痛恨 [tònghèn]
看 [kàn] / 听 [tīng] / 闻 [wén] / 像 [xiàng]
เอาล่ะ เรารู้จัก 把字句 กันพอหอมปากหอมคอแล้ว ตอนหน้าสุ่ยหลินจะมาบอกวิธีการใช้ ข้อสังเกตและจุดควรระวังที่เราชอบใช้ประโยค 把字句 แบบผิดๆกันนะคะ
ติดตาม 把字句 ไวยากรณ์นี้ไม่มีในภาษาไทย ตอน 2 ที่นี่จ้า
สุ่ยหลิน^^
[…] โพสนี้สุ่ยหลินขอนำเสนอแฝดพี่แฝดน้องกับประโยค 把字句 ที่สุ่ยหลินเคยเขียนไว้ก่อนแล้ว ใครลืมไปแล้ว รื้อฟื้นความทรงจำได้ที่นี่เรยยย 把字句 ไวยากรณ์นี้ไม่มีในภาษาไทย […]
อธิบายโดยอิงหลักภาษาศาสตร์ ชอบมากๆ ครับ
เข้าใจแจ่มแจ้งเลยครับ พี่สุ่ยหลิน
[…] ตอน 2 นี่ว่างเว้นจากตอนแรกมาไกลเลย เพื่อไม่เสียเวลา เรามาเริ่มกันเลยดีกว่านะจ๊ะ เพราะโพสนี้มันยาววววว แต่มีประโยชน์ต่อภาษาจีนของเฮา จึงควรรีบอ่านน้าา! ใครไม่ได้อ่านตอนแรกหรือลืมไปแระว่าคืออาไร กดที่นี่ครัชชช 把字句 ไวยากรณ์นี้ไม่มีในภาษาไทย ตอน 1 […]