สุ่ยหลินคิดว่าสำหรับคนจีนแล้วเรื่องกินคือ “เรื่องหญ่าายยย” จริงๆ เพราะเจอหน้ากันก็ต้องทักว่ากินข้าวยัง เทศกาลอะไรๆ ก็ต้องมีของไหว้และก็ต้องกินของไหว้นั้นให้หมดด้วย ><‘ หุ่นเราก็เลยเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมแบบเนี้ยย แหะๆ
จำได้ว่าตอนสมัยอาม่าเคร่งครัดกันมากๆ ต้องทำของไหว้เองเช่น ขนมเทียน ขนมเข่ง บะจ่าง ไชเถ่าก้วย ขนมอี๋ หากเป็นพวกต้มไก่ ต้มเป็ด ถ้ากินไม่หมดก็เอามาพะโล้ เหลืออีกเอามาทำก๋วยเตี๋ยว ยังเหลืออีกเอามาทอดโรยเกลือเค็มๆ เก็บได้อีกเป็นอาทิตย์ไม่ให้เสียของ พูดแล้วอยากกินเป็ดทอดโรยเกลือเค็มๆ กะข้าวต้มเนอะ 555
ก็เพราะเรื่องกินเป็นเรื่องหญ่ายแบบนี่นี้เองค่าา คนจีนเค้าก็เลยมีคำสแลง (俚语) [lǐyǔ] ที่ใช้คำศัพท์เกี่ยวกับเรื่องกินๆ แต่ไม่ได้มีความหมายเกี่ยวกับเรื่องกินเล๊ยยย เคยเจอแม่ะ??
ถ้าไม่เคย ติดตามในโพสนี้ได้เลยจ้า
ศัพท์เรื่องกินๆ ที่ไม่ได้กิน^^
คำแรก 饭碗 [fànwǎn]
คำนี้แปลตรงๆ คือชามข้าว แต่สำหรับภาษาจีนแล้วมีความหมายแฝงว่า “งานที่ทำเพื่อดำรงชิวิต” เพราะถ้ายังมีชามข้าวใส่ข้าวกิน ก็หมายถึงว่ามีงานทำ ยังสามารถมีชีวิตต่อไปได้นั่นเองค่าาา
มาดูตัวอย่างกันดีก่า
这么努力工作是为了保住饭碗。
Zhème nǔlì gōngzuò shì wèile bǎozhù fànwǎn。
ที่ (ชั้น) ขยันอย่างงี้ ก็เพื่อให้ยังมีงานทำนะสิ
นอกจากนี้ ยังมีคำอยู่อีกคำหนึ่งคือคำว่า 铁饭碗 [tiěfànwǎn] ซึ่งแปลตรงตัวว่า ชามข้าวเหล็ก
ทำไมต้องชามข้าวเหล็กล่ะ???
เพราะแบบนี้ค่าาา เมื่อชามข้าวมีความนัยถึงงานที่ดำรงชีพ “ชามข้าวเหล็ก” ก็เลยหมายถึงงานที่โค-ตะ-ระ มั่นคงมากๆ เพราะไม่แตกง่ายเหมือนชามกระเบื้อง สมัยก่อนคนจีนถือว่างานราชการหรือคนที่ทำงานกับรัฐเป็น 铁饭碗 เลยค่า ไม่ไล่ออกกันง่ายๆ ว่าอย่างนั้น เดี๋ยวนี้ก็ยังถือแบบนี้เหมือนกันแต่ลดลงมามั่ง เพราะเอกชนจ่ายดีกว่า เหมือนของเมืองไทยเลยว่าม่ะ?
คำที่ 2 จัดมาๆ 啃老族 [kěnlǎozú]
คำนี้มีความหมายเดียวกับคำว่า 吃老族 [chīlǎozú] และ 傍老族 [bànglǎozú] ค่าา ทั้งสามคำมี 老族 ลงท้ายเหมือนกันหมด ต่างกันแค่ตัวหน้าคือ 啃, 吃, 傍
ลองดูคำว่า 啃, 吃 สังเกตดูจะเห็นคำว่า 口 “ปาก” อยู่ ดังนั้นต้องเป็นอะไรที่เกี่ยวกับปากชัวร์ๆ นะ 啃 แปลว่า “แทะ” ส่วน 吃 คือกิน เรารู้จักกันดี
อ่ะ..มาดู 傍 กันมั่ง 傍 ตัวนี้แปลว่า “พักพิง” หรือ “พึ่งพิง” ก็ได้ ถ้าเราต้องพึ่งพึงใครก็ต้องมี “คน” ใช่ไหมคะ ดังนั้นจึงมีตัว 亻อยู่ข้างหน้า ไงครัช
คำพวกนี้จึงแปลว่า “แทะคนแก่” “กินคนแก่” และ “พิงคนแก่” ตามลำดับ
พอเดาออกใช่ไหมล่าา ว่าความหมายคืออะไร ??
ใช่แว้ววค่า เก่งมากๆ (สุ่ยหลินมโนว่าทุกคนเดาถูกกก) คำเนี้ยใช้เรียกพวกหนุ่ม ๆ สาวๆ ที่ไม่ยอมทำงาน ไม่ยอมหางานทำทั้งที่หาได้ เพราะอ้างว่าตัวเองจบมหาลัยดังๆ ให้เงินเดือนต่ำทำไม่ไหว หรืองานเครียดเกินทนรับ จึงอยู่กับพ่อแม่ดีกว่า อย่าทำงานให้เหนื่อยเลย แถมยังใช้ชีวิตไฮโซ หรูหราอีกด้วย เลยกลายเป็นคนตกงานแถมยังไม่ตั้งใจหางานใหม่อีกตังหาก เป็นคำเรียกเสียดสีหนุ่มๆ สาวๆ จีนรุ่นใหม่ในยุคนี้ค่า สุ่ยหลินว่าใกล้กับคำว่า เกาะพ่อแม่ ในภาษาไทยนะ
มาดูตัวอย่างจ้า
我也不想做啃老族 啊,可是薪水这么低 !
Wǒ yě bùxiǎng zuò kěnlǎozú a, kěshì xīnshuǐ zhème dī!
ชั้นก็ไม่อยากเกาะพ่อแม่กินเหมือนกันล่ะน่า แต่เงินเดือนไมมันต่ำอย่างงี้ล่ะ
คำที่ 3 吃老本 [chī lǎoběn]
คำนี้แปลได้ว่า “กินสมบัติเก่า” หรือ “ใช้ความสำเร็จที่เคยมีมาก่อน” (โดยไม่มีอะไรใหม่ๆ ) เลย สุ่ยหลินว่าใกล้เคียงกับภาษาไทยว่า “กินบุญเก่า” ก็ได้นะ
คำนี้เกิดขึ้นครั้งแรกเพราะ 周恩来 [Zhōu’ēnlái] พูดเมื่อปี 1977 ว่าอยากให้ผู้นำ (จีน) สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ขึ้นมาอย่ามัวแต่กินบุญเก่าหรืออยู่แค่บนความสำเร็จของเดิมๆ
ประโยคดั้งเดิมของเค้าว่างี้ 坚决执行 毛主席 的指示,教育老干部不要吃老本,要立新功,立新劳。”如:当今世界,科学知识更新很快,我们不能光是吃老本,要时时学习新的东西。
ดูตัวอย่างประโยคกัลล
他失业后只能吃老本。
Tā shīyè hòu zhǐnéng chī lǎoběn.
หลังจากตกงาน เขาก็ต้องกินบุญเก่า (เอาเงินเก็บมาใช้)
วันนี้จัดไป 3 คำกันก่อนน้า คราวหน้าเดวสุ่ยหลินมาคำใหม่ๆ มาเสริมให้อีกนะครัช โปรดติดตามนะจ๊ะ
สุ่ยหลิน^^
[…] สุ่ยหลินเคยเขียนโพสคำนี้ไว้แล้ว อ่านเพิ่มเติมคลิกที่นี่ครัช เรื่องกินที่ไม่ได้กิน เอ๊ะ! ยังไง?? (俚… […]