สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ เห็นหัวเรื่องซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือนแบบนี้สุ่ยหลินเชื่อว่าแฟนเพจที่ติดตามอ่านโพสไวยากรณ์ของสุ่ยหลินต้องเดาได้แน่นอน ว่าคราวนี้สุ่ยหลินมาพร้อมกับคำเหมือนในภาษาจีนอีกแล้วค่ะ
คำเหมือนในภาษาจีนถือว่าเป็นยาขมสำหรับผู้เรียนภาษาจีนอย่างเราๆ นะคะ เพราะบ่อยมากๆ ที่ภาษาไทยเราใช้คำเดียวแต่ภาษาจีนมีหลายคำ! บางทีมี 2 คำบ้าง 3 คำบ้าง และคราวนี้สุ่ยหลินมาพร้อมกับคู่เหมือนอีกครั้งค่ะ ได้แก่คำว่า 内 และ 里 ที่ความหมายเมื่อแปลเป็นไทยเหมือนกันเป๊ะๆ คือแปลว่า “ภายใน” หรือ “ข้างใน”
ถ้าเหมือนกันซะขนาดนี้ ใช้แทนกันได้เลยหรือเปล่า? แล้วถ้าไม่ใช่ เราจะแยกออกได้ยังไงว่าเมื่อไหร่จะใช้ 内 หรือ 里 ดีล่ะ?
ติดตามเรื่อง 内 กับ 里 ภายในที่แตกต่าง? ได้ในโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ
ถ้ามองในแง่ของความหมาย จริงๆ แล้วทั้ง 内 และ 里 มีความหมายสื่อถึงข้างในเหมือนๆ กัน สิ่งที่ต่างกันก็คือการใช้งาน หรือคำเข้าคู่ ว่าจะเอาไปใช้กับคำไหน เราจึงจะเลือกได้ว่าควรจะใช้อะไรระหว่าง 2 คำนี้ค่ะ ลองมาดูความหมายทีละคำกันก่อน
内 [nèi]
คำนี้มีจุดเด่นดังนี้
1. เป็นภาษาเขียน
2. เมื่อใช้เพื่อสื่อถึง “ใน” สถานที่ มักใช้กับคำที่เป็นพยางค์เดียว โดยมักจะใช้ 内 ตามหลังคำที่เป็นพยางค์เดียว ในขณะที่ 里 ในความหมายเดียวกันมักใช้กับคำ 2 พยางค์
国内 [guó
市内 [shìnèi] – 城市里 [chéngshì lǐ] ในเมือง
校内 [xiàonèi] – 学校里 [xuéxiào lǐ] ในโรงเรียน
室内 [shì
3. สามารถเอาไว้หลังคำนามที่แสดงเวลา เพื่อบอกว่าอยู่ในขอบเขตของเวลานั้น
โครงสร้าง
ระยะเวลา + 内
一年内 [yī nián nèi] ภายใน 1 ปี
一个小时内 [yīgè xiǎoshí nèi] ภายใน 1 ชั่วโมง
本周内 [běn zhōu nèi] ภายในสัปดาห์นี้
4. เมื่อใช้ร่วมกับคำบุพบท (介词), 内 สามารถใช้ร่วมกับ 对, 由 และ 向 ได้ โดยตามหลังคำบุพบทได้โดยตรง (ส่วนใหญ่เป็นภาษาเขียน มักเจอในรูปแบบของวรรณกรรม นิยาย ภาษา abstract ภาษาสละสลวย ภาษาที่มาจากจินตนาการ)
โครงสร้าง
对/由/向 + 内
由内 [yóu nèi]
由内而外的美才是最美。
Yóu nèi ér wài dì měi cái shì zuìměi.
ความงามจากภายในสู่ภายนอกนั้นสวยงามที่สุด
对内 [duìnèi]
这个权力有两种形式:一种是对内的,一种是对外的。
Zhège quánlì yǒu liǎng zhǒng xíngshì: Yī zhǒng shì duì nèi de, yī zhǒng shì duìwài de.
พลังงานนี้มีสองรูปแบบ: หนึ่งคือพลังงานภายในและอีกหนึ่งคือพลังงานภายนอก
向内 [xiàng nèi]
向外看的人在梦中,向内看的人清醒着。
Xiàng wài kàn de rén zài mèng zhōng, xiàng nèi kàn de rén qīngxǐngzhe.
คนที่มองออกไปภายนอกนั้นอยู่ในความฝัน คนที่มองเข้าไปข้างในนั้นเป็นผู้ตื่นรู้ (เปรียบเหมือนคนที่รู้เท่าทันจิตใจของตนเอง)
里 [lǐ]
1. เป็นภาษาพูด
2. เมื่อใช้เพื่อสื่อถึง “ใน” สถานที่ มักใช้กับคำที่เป็น 2 พยางค์ขึ้นไป
国内 [guó
市内 [shìnèi] – 城市里 [chéngshì lǐ] ในเมือง
校内 [xiàonèi] – 学校里 [xuéxiào lǐ] ในโรงเรียน
室内 [shì
3. เมื่อใช้ร่วมกับคำบุพบท (介词), 里 สามารถใช้ร่วมกับ 从 , 向, 往, 朝 และ 由
โครงสร้าง
从/向/往/朝/由 + คำนาม + 里
从教室里向外看
Cóng jiàoshì lǐ xiàng wài kàn
จากห้องเรียนมองออกไปข้างนอก
向学校里学习
xiàng xuéxiào lǐ xuéxí
เรียนรู้จากในโรงเรียน
往家里打电话
wǎng jiā lǐ dǎ diànhuà
โทรศัพท์ไปที่บ้าน
朝卧室里走去
cháo wòshì lǐ zǒu qù
เดินไปยังห้องนอน
由心里发出
yóu xīnlǐ fāchū
ออกมาจากใจ
ถ้าจะแยกกันอย่างง่ายที่สุด จริงๆ 里 เจอบ่อยในชีวิตประจำวันมากกว่า คุ้นปากมากกว่า 内 ซึ่งมักจะใช้ในภาษาเขียน วรรณกรรม นิยายต่างๆ มากกว่าค่ะ ใครชอบอ่านไวยากรณ์เปรียบเทียบคำเหมื๊อนเหมือนแบบนี้ไว้เอาเป็นข้อมูลอ้างอิงเวลาเรียนที่หาอ่านเปรียบเทียบกันจะๆ ที่ไหนไม่ได้ สุ่ยหลินเขียนไว้เยอะแยะในเว็บไซด์นี้เลยค่ะ ไปแว่นขยายกดหา keyword คำว่า ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน จะเจอขึ้นมาเพียบ
สำหรับใครที่ชอบเนื้อหาแนวนี้ สุ่ยหลินแนะนำเลยค่ะกับหนังสือ “ซีรีส์คำเหมือน HSK 1-6 ไวยากรณ์จีนง่าย ๆ สไตล์สุ่ยหลิน” (เวอร์ชั่น SE-ED) มีขายที่ร้านหนังสือ SE-ED และ SE-ED Online แล้วนะคะ ใครจะสอบ HSK ระดับไหนหรือจะสอบ PAT7.4 หนังสือเล่มนี้ช่วยเราแก้ปัญหาเรื่องของคำคล้าย 近义词 ที่เราคนไทยชอบสับสนได้เลย!
หนังสือราคา 250 บาทหนา 344 หน้า อ่านตัวอย่างหนังสือเล่มนี้ที่นี่เลยค่ะ http://bit.ly/ซีรีส์คำเหมือนHSK1-6
สุ่ยหลิน^^