ดูงิ้วก็เหมือนดูลิเก ดูโขน คนรุ่นใหม่อย่างเราใครจะไปดู! จริงเหรอ??

4687
SHARE

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ สุ่ยหลินเขียนโพสนี้นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำหนังสือเรียนภาษาจีนเล่มใหม่ให้แฟนเพจแล้ว ยังมีเป้าหมายที่อยากเล่าให้แฟนเพจฟังถึงการเรียนภาษาจีนในมุมที่กว้างขึ้น ภาษาจีนที่ไม่ได้มีอยู่แค่ในตำราเรียน แต่เป็นภาษาจีนที่คนจีนยังใช้อยู่ในชีวิตประจำวันและใช้ถึงทุกวันนี้ค่ะ

พูดถึงภาษาจีนที่มาจากงิ้วนี่หลายคนคงนึกไม่ออก สุ่ยหลินเองก็เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วลองคิดถึงความเป็นไปได้ทั่วๆ ไป ไม่ต้องคิดเยอะ คิดลึกมาก พวกเราเองก็พอจะเข้าใจว่าเรื่องราวในงิ้วส่วนใหญ่จะเป็นตำนาน นิยาย เรื่องเล่า หรือเป็นคนจริงๆ ที่มีชีวิตอยู่ในประวัติศาสตร์ แต่อาจจะแต่งแต้มให้เว่อร์วัง อภินิหาร เก่งเทพ ต่างนานา

ถ้าภาษาจีนยังคิดไม่ออก แล้วภาษาไทยล่ะ เราลองมาคิดเล่นๆ ว่าในภาษาไทยของเราทุกวันนี้ เรามีการใช้ภาษาที่มาจากตำนาน เรื่องราว จากละคร จากลิเก จากโขน บ้างมั๊ย? สุ่ยหลินลองรวมเล่นๆ มาให้ดูค่ะ แฟนเพจคนไหนนึกออกมากกว่านี้บอกสุ่ยหลินด้วยนะ ยกตัวอย่างเช่น

ไอ้ลูก “ทรพี” จริงๆ แล้วทรพีเป็นชื่อควาย เป็นลูกของทรพา ทรพาถูกดูดวงไว้ว่าจะต้องถูกลูกฆ่าเลยไล่ฆ่าลูกตัวเองหมด ทรพีรอดไปได้แล้วโตมาฆ่าพ่อจริงๆ มาจากสำนวนนี้มาจากเรื่องรามเกียรติ์

ทรพี

“ชักแม่น้ำทั้งห้า” มาจากตอนที่ชูชกพบพระเวสสันดรแล้วพูดจาหว่านล้อมต่างๆ นานา เทียบน้ำใจของพระองค์เหมือนแม่น้ำทั้งห้าสายของอินเดีย สำนวนนี้มาจากเรื่องพระเวสสันดร

เหมือน “นางวันทองสองใจ” เลยนะ เรื่องราวมาจากตอนที่นางวันทองคิดว่าขุนแผนตาย เลยยอมเป็นเมียขุนช้าง สำนวนนี้เลยมาจากเรื่องขุนช้างขุนแผน

แฟนเพจจะเห็นว่าสำนวนพวกนี้เราเรียนตั้งแต่ประถม ความหมายเรารู้ว่าแปลว่าอะไร ใช้ตอนไหนให้ถูก แต่ถ้าเป็นคนต่างชาติมาเรียนภาษาไทยเขาต้องงงแน่ๆ ว่าทำไมต้องเรียกลูกอกตัญญูว่า “ลูกทรพี” แถมทรพียังเป็นควายไม่ใช่คนอีก ตกลงว่าด่าว่าเป็นคนหรือควาย? หรือหว่านล้อมคนอื่นเกี่ยวอะไรกับแม่น้ำ หลายใจทำไมต้องเหมือน “วันทอง” วันทองคือใคร?

ดังนั้น แฟนเพจเห็นเหมือนที่สุ่ยหลินกำลังจะเล่าหรือเปล่าคะว่า การเรียนภาษาจีนถ้าเรามัวแต่ยึดติดแค่ในตำราเรียน มันยากมากที่จะทำให้ภาษาจีนของเราพัฒนาขึ้นได้ เพราะภาษาไทยพัฒนามา 1,500 ปี+ ภาษาจีนยิ่งกว่าพัฒนามา 5,000 ปี++ มันมีที่มีมา มีเรื่องเล่า ผสมผสานด้วยวัฒนธรรม ประเพณี ธรรมเนียมต่างๆ ที่ตกทอดมาในภาษาเยอะมากค่ะ

ถึงแม้ว่างิ้วจะดูเหมือนเป็นงานอดิเรกของคนแก่ ก็ไม่ต่างอะไรกับที่คนไทยรุ่นใหม่สมัยนี้ไม่ค่อยดูลิเก หรือโขนเพราะมันช้า มันน่าเบื่อ ไม่รู้ร้องหรือพูดอะไรกัน แต่ถ้าเราจะเรียนภาษาจีนให้ได้ในมุมกว้าง เข้าใจให้ลึกขึ้น ให้รู้ที่มาที่ไปของสำนวนหรือสุภาษิตอย่างถ่องแท้ ใช้ได้อย่างถูกสถานการณ์แบบคนจีน สุ่ยหลินถือว่า “งิ้ว” เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีค่ะ เพราะงิ้วเกิดขึ้นในจีนอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 1179-1276) นับถึงต่อนี้ก็ไม่มากเท่าไหร่แค่ 800 ปี+ ลองคิดดูว่าเวลาที่ยาวนานขนาดนี้ จะไม่ทำให้งิ้วมามีอิทธิพลในภาษาจีนของคนจีนปัจจุบันเลยเหรอ?

เล่าถึงตรงนี้ก็อยากยกสำนวนที่มีอยู่ในหนังสือ “เล่าขานผ่านงิ้ว” ให้แฟนเพจอ่านกันค่ะ

得发 [hóng de fā zǐ] แดงจนกลายเป็นม่วง

红得发紫

หลายคนรู้จักว่าเวลาจู่ๆ “ดัง” ขึ้นมา ภาษาจีนเรียก 走红 [zǒuhóng] เนตไอดอลเรียก 网红 [wǎnghóng] ดังนั้น 红 ในที่นี้ไม่แปลว่าสีแดง แต่แปลว่าดัง

สำนวน 红得发紫 แดงจนกลายเป็นม่วง มีที่มาจากการที่สมัยก่อนฮ่องเต้ชอบใครโปรดปรานใครก็โปรโมทเข้าไป ขุนนางตำแหน่งสูงๆ เขาก็ใส่ชุดสีม่วงกัน ขุนนางตำแหน่งรองลงมาถึงเป็นสีแดง ตัวละครในงิ้วก็อ้างอิงสีแบบนี้เวลาขึ้นแสดงด้วยนะ ดังนั้น 红得发紫 จึงหมายถึงคนที่ได้รับความสำคัญ มีความโดดเด่นอย่างชัดเจนเหนือคนอื่นๆ เรียกได้ว่า 红 ที่ว่าดังแล้วยังมีขั้นกว่าคือ 紫 นั่นเองค่ะ

他在公司红得发紫。
Tā zài gōngsī hóng dé fā zǐ.
เขาอยู่บริษัทนี่เป็นตัวท๊อปของบริษัทเลย

琉璃娃娃 [liúli wáwa] ตุ๊กตาแก้ว

ในการแสดงงิ้วจะมีตัวละครอยุ่ตัวหนึ่งค่ะเรียก 娃娃生 [wáwashēng] บทเด็กน้อยๆ ใสๆ อายุน้อย ปัจจุบันสำนวนนี้ถูกเอามาใช้บรรยายบุคลิกลักษณะของคน (ซึ่งส่วนใหญ่)ใช้กับเด็กสาวหมายถึงลูกคุณหนู สวย ใส ช่างฝัน แต่เปราะบาง ถูกกระทบกระเทือนได้ง่าย ไม่เคยเจอความลำบากใดๆ ในชีวิต พอเจอเข้าหน่อยก็อาจจะแตกได้เหมือนแก้ว สำนวนนี้มาจากไหน ก็มาจากงิ้วนั่นเองค่ะ

琉璃娃娃

มาถึงตรงนี้สุ่ยหลินเชื่อว่าแฟนเพจคงจะได้ไอเดียที่สุ่ยหลินอยากจะบอกเนอะ ว่าการเรียนภาษาให้ได้ดี อย่ายึดติดกับหนังสือเรียนและการเรียนในห้องเรียนอย่างเดียว แต่เปิดโอกาสการเรียนของเราให้กว้าง ให้มาก แล้วโลกของเราจะเปลี่ยนไปเมื่ออุปสรรคด้านภาษาของเราน้อยลงๆ จนไม่มี

หนังสือเล่มนี้ของ ChineseBang “เล่าขานผ่านงิ้ว” สุ่ยหลินกล้าพูดว่านี่เป็นหนังสืองิ้วเล่มแรกและเล่มเดียวของประเทศไทยที่จัดเต็มเนื้อหาขนาดนี้ เราอ่านหนังสืองิ้ว ไม่ได้เป็นเพราะเราต้องการไปดูงิ้วให้รู้เรื่องอย่างเดียว แต่เพราะเราอยากจะเพิ่มมุมมองและความรู้ภาษาจีนของเราให้กว้างขึ้นผ่านการแสดงงิ้วที่มีวัฒนธรรมตกทอดมาถึงภาษาจีนในปัจจุบันด้วยนะคะ

อย่าช้า เดี๋ยวอดเก่งขึ้น อดพัฒนาตัวเอง ซื้อหนังสือ eBook คลิกที่นี่ mebเลยค่ะ

มาลองอ่านตัวอย่างที่นี่เลย bit.ly/CnOpera

เล่าขานผ่านงิ้ว