อยากอ่านภาษาจีนให้ออกเร็วๆ ต้องทำยังไง??

88018
SHARE

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ หนึ่งในคำถามที่สุ่ยหลินถูกถามบ่อยมากที่สุดก็คือคำถามนี้เลยค่ะ อยากอ่านภาษาจีนให้ออกเร็วๆ ต้องทำยังไงดี? เพราะภาษาจีนไม่เห็นบอกเลยว่าอักษรตัวนี้ออกเสียงยังไง? อย่างนี้แปลว่าต้องจำล้วนๆ จำเหน่งๆ จำลูกเดียวไม่มีทางอื่นเลยเหรออ?  จำไม่ได้อ่ะ TT มาค่ะมา พี่ๆ น้องๆ เอ้ย สุ่ยหลินจะเล่าให้ฟังในโพสนี้ค่าา!!

ก่อนอื่นเลยต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าอักษรจีน 汉字 นั้นแตกต่างจากอักษรไทยของเรามากค่ะ เพราะว่าอักษรจีนนั้น “ไม่” บอกวิธีการออกเสียงค่ะ (ซึ่งต่างจากภาษาไทยของเราที่ถ้าเรียนวิธีสะกดคำเป็นแล้วก็อ่านออกเสียงได้เป็นทุกคน) ดังนั้น เมื่อเราเห็นอักษรจีนที่ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักมาก่อน เราไม่มีทางที่จะออกเสียงภาษาจีนได้เลยค่ะ และมันจึงเป็นเรื่องยากกกกกสส์ส์ส์ค่ะที่เราจะอ่านภาษาจีนได้ออกทุกตัว แต่วันนี้สุ่ยหลินมีหลักการช่วยจำเป็นตัวช่วยมาให้ค่ะ โดยเชื่อว่าจะช่วยให้เราอ่านภาษาจีนได้ออกง่ายและเร็วกว่าเดิม มาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้าง

1. เริ่มเรียนพินอิน 拼音 [pīnyīn]

อย่างที่เกริ่นไปแต่แรกว่า อักษรจีนไม่บอกวิธีการออกเสียง จึงได้มีคนคิดค้นวิธีการใช้สิ่งที่เรียกว่าพินอิน 拼音 [pīnyīn] ซึ่งเป็นระบบที่ยืมตัวอักษรโรมันมาช่วยในการบอกการออกเสียงของอักษรจีนค่ะ

พินอินหน้าตาเป็นแบบไหนล่ะ?  หน้าตาก็คล้ายๆ กับอักษรภาษาอังกฤษเลย แต่วิธีการออกเสียง “ไม่” เหมือนกัน แถมสระพินอินยังมีหมวกใส่เพื่อบอกเสียงวรรณยุกต์ของอักษรนั้นด้วยนะ (ภาษาจีนเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาไทยเราเลยค่ะ แต่มีจำนวนเสียงวรรณยุกต์ 4 เสียง ในขณะที่ของเรามี 5 เสียง)
อย่างเช่น

อ่านว่า หว่อ แปลว่า ฉัน อักษรจีนคือ 我
lái อ่านว่า ไหล แปลว่า มา อักษรจีนคือ 来
diàn อ่านว่า เตี้ยน แปลว่า ร้านค้า อักษรจีนคือ 店

แล้วพินอินจะช่วยให้เราอ่านตัวอักษรจีนได้ยังไงล่ะ?

พินอินไม่ได้ช่วยให้เราอ่านออกหรอกนะคะ แต่ช่วยให้เราออกเสียงได้ถูกต้อง ศัพท์ใหม่ๆ ที่ไม่รู้ในหนังสือเรียนเค้าก็จะมีพินอินกำกับ คำไหนไม่รู้เปิดดิก ก็มีพินอินช่วยบอกว่าออกเสียงยังไง?  แถมทุกวันนี้เวลาเราพิมพ์คอมหรือแชทเป็นภาษาจีน เราก็พิมพ์ด้วยพินอินนี่แหละหลังจากนั้นค่อยเลือกตัวอักษรจีนที่ต้องการอีกที

สุ่ยหลินแนะนำอย่างมากว่า ใครที่เริ่มต้นเรียนจีนใหม่ๆ ให้เวลากับการเรียนพินอินสักหน่อย ต่อไปการออกเสียงเรียนรู้คำศัพท์ใหม่เราจะไปได้เร็วขึ้น ชัดขึ้นนะจ๊ะ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพินอิน ดูได้ที่นี่นะจ๊ะ พินอิน คืออะไร‬ อ่านออกไปแล้วคนจีนยังงง???

 

2. เรียนรู้วิธีการสร้างตัวอักษรจีน

ก่อนอื่นเรามารู้จักลักษณะของตัวอักษรจีนในแบบต่างๆ กันค่ะ เมื่อเราเข้าใจที่มาก็จะทำให้จำแบบมีหลักการมากขึ้นนะ

ลักษณะของตัวอักษรจีนแบ่งได้ 4 แนวใหญ่ๆ

– รูปภาพ

อักษรจีนดั้งเดิมเลยมาจากรูปภาพที่คนจีนโบราณวาดไว้ ต่อมาจึงพัฒนามากลายเป็นตัวอักษร อักษรจีนแบบนี้เข้าใจง่าย แต่ก็มีบางตัวที่แปลเปลี่ยนไปจนไม่เห็นเค้าโครงเดิม และมักจะเป็นคำนาม เพราะพอเป็นคำอื่นๆ ที่ไม่ใช่คำนามมักจะสื่อออกมาเป็นรูปภาพได้ยาก เช่น

– rì – ดวงอาทิตย์
– shān – ภูเขา
– mù – ต้นไม้
鸟 – niǎo – นก
– rén – คน
鱼 – yú – ปลา

鱼 -  形象字

 

– แบบแนวคิดหรือคอนเซปต์

เป็นการเอาสิ่งที่เป็นนามธรรม มาสร้างเป็นอักษรจีน เช่น

[yī] หนึ่ง , [èr] สอง , [sān] สาม
คือใช้จำนวนขีดแทนเลข แต่หลังจากเลขสามไปแล้วคอนเซปต์นี้ใช้ไม่ได้แล้วนะจ๊ะ เพราะสี่ในภาษาจีนคือ [sì] สี่ (สงสัยคงกลัวว่าพอถึงเลข 9 ขีดจะเยอะเกินไปมั๊ง) ตัวอย่างอื่่นๆ ก็เช่น 上 [shàng] ขึ้น และ [xià] ลง

上

– แบบผสมความหมาย

เป็นการต่อยอดการสร้างอักษรจีน โดยเอาอักษรภาพหรืออักษรคอนเซปต์มาผสมกันสร้างอักษรใหม่ ที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำที่เอามาประกอบกันค่ะ เช่น

[sēn] ป่าไม้
เกิดจาก ต้นไม้ มารวมกัน 3 ตัว ก็คือ ที่ที่มีต้นไม้เยอะๆ นั้นก็คือ “ป่าไม้” นั่นเองค่ะ

[lèi] น้ำตา
เกิดจาก ย่อมาจาก น้ำ และ ดวงตา คือมีน้ำออกมาจากดวงตา แปลว่า “น้ำตา”

[míng] สว่าง
เกิดจาก ดวงอาทิตย์ และ ดวงจันทร์ คือมีแสงทั้งกลางวันและกลางคืน แปลว่า “สว่าง”

[xiū] พักผ่อน
เกิดจาก ย่อเป็น มาอยู่ใต้ ต้นไม้ สื่อความหมายคนหลบแดด “พักผ่อน” อยู่ใต้ต้นไม้

休

 

– แบบส่วนหนึ่งสื่อความหมาย อีกส่วนหนึ่งสื่อการออกเสียง

แบบนี้เราจะเห็นกันมากที่สุดเลยค่ะ คือประมาณ 80% ของอักษรจีนจะเกิดจากการสร้างอักษรจีนวิธีนี้ อักษรจีนลักษณะนี้จะมีส่วนที่ประกอบอยู่ 2 ส่วนหลัก คือส่วนที่สื่อความหมาย และอีกส่วนนึงสื่อการออกเสียงค่ะ เช่น

[huā] ดอกไม้
ประกอบด้วย ย่อมาจากอักษรจีนตัวเต็ม [cǎo] สื่อความหมายที่เกี่ยวข้องกับ “หญ้า”
[huā] เป็นส่วนสื่อการออกเสียง คือยืมเสียงที่เหมือนหรือใกล้เคียงมาใช้ออกเสียงคำว่า ค่ะ

[mā] แม่
ประกอบด้วย  [nǚ] สื่อความหมายที่เกี่ยวข้องกับ “ผู้หญิง”
[mǎ] เป็นส่วนสื่อการออกเสียง คือยืมเสียงที่เหมือนหรือใกล้เคียงมาใช้ออกเสียงคำว่า ค่ะ

[yǔ] ภาษา
ประกอบด้วย ลดรูปเป็น[yán] สื่อความหมายที่เกี่ยวข้องกับ “คำพูด”
[wú] เป็นส่วนสื่อการออกเสียง คือยืมเสียงที่เหมือนหรือใกล้เคียงมาใช้ออกเสียงคำว่า ค่ะ

 

3. เรียนรู้การจดจำตัวอักษรและความหมาย

หลังจากเรารู้จักพินอินและลักษณะของตัวอักษรจีนแล้ว เรามาดูกันค่ะว่าอักษรจีนตัวนึงเราต้องรู้อะไรบ้าง?

จำส่วนประกอบ

อย่าจำทั้งหมดในทีเดียวค่ะ เพราะจริงๆ แล้วอักษรจีนเหมือนเป็นตัวต่อเลโก้ คือการเอาอักษรจีนที่มีอยู่แล้วมาประกอบเป็นอักษรจีนตัวใหม่ ดังนั้นให้เราจำเป็นส่วนประกอบ แล้วค่อยมาประกอบกันเป็นตัวอักษรที่ต้องการจำอีกที

วิธีนี้มีข้อดีคือ ส่วนประกอบของตัวอักษรที่เอามาประกอบเป็นอักษรใหม่มักจะเป็นอักษรที่เรารู้จักคุ้นเคยอยู่แล้ว ที่เราต้องจำเพิ่มคือเอามาประกอบอยู่ตรงไหนของอักษรตัวใหม่ ซึ่งเราสามารถใช้ความรู้เรื่อง 偏旁 มาช่วยในการเดาความหมายและการออกเสียงได้ อยากรู้เรื่อง 偏旁 เพิ่มเติม อ่านได้ที่อัลบั้มนี้นะคะ 汉字常用偏旁部首

ซึ่งการประกอบกันเป็นตัวอักษรนี้จะมีหลายแบบค่ะ สุ่ยหลินเอาแบบที่เจอกันบ่อยๆ มาให้ดูนะ

ประกอบกันแบบซ้าย-ขวา
好 [hǎo] ดี = 女 [nǚ] + 子 [zǐ]

好

ประกอบกันแบบบน-ล่าง
果 [guǒ] ผลไม้ = 木 [mù] +田 [tián]

果

 

ประกอบแบบแบ่งสามส่วน
班 [bān] = 王 [wáng] +刂 [dāo] +王 [wáng]

班

ประกอบกันแบบนอก-ใน
回 [huí] = 囗 [wéi] +口 [kǒu]

回

ที่นี้ลองมาดูส่วนประกอบของตัวอักษรจีนที่สื่อความหมายกัน

ลองดูตัวอย่างของ [mù] ต้นไม้ อักษรจีนที่มี สื่อความหมายจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับไม้หรือต้นไม้ค่ะ เช่น
[bǎn] กระดาน
[běn] ราก
[guǒ] ผลไม้
[lóu] ตึก

มาดูส่วนประกอบที่สื่อการออกเสียงกันบ้าง

ลองดูตัวอย่างของ [bāo] ห่อ อักษรจีนตัวไหนใช้  สื่อการออกเสียง เสียงของอักษรตัวนั้นจะเหมือนหรือใกล้เคียงกับ ค่ะ เช่น
[páo] วิ่ง
[bào] โอบกอด
[pào] ฟองอากาศ
[bǎo] อิ่ม

จำศัพท์จากคำที่มาประกอบกัน

การสร้างศัพท์ใหม่ของจีนคล้ายกับของไทยเลยค่ะ คือการเอาศัพท์เดิมตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาต่อกันเป็นศัพท์ใหม่ที่ยังคงมีความหมายเกี่ยวข้องกับศัพท์เดิม เช่น

[bān] ลาย + [mǎ] ม้า = 斑马 [bānmǎ] ม้าลาย
斑马 [bānmǎ] ม้าลาย + 线 [xiàn] เส้น = 斑马线 [bānmǎxiàn] ทางม้าลาย
[diàn] ไฟฟ้า + [nǎo] สมอง = 电脑 [diànnǎo] คอมพิวเตอร์
长颈鹿 [chángjǐnglù] ยีราฟ = [cháng] ยาว + [jǐng] คอ + 鹿 [lù] กวาง

长颈鹿
credit : Yoyo Chinese

 

4. คัด คัด คัด

สุดท้ายที่ขาดไม่ได้คือการคัดอักษรจีน เพราะเป็นวิธีการที่ใช้ประสาทสัมผัสหลายๆ อย่างมาเปลี่ยนความจำระยะสั้นให้เป็นระยะยาว เวลาคัดก็อย่าสักแต่ว่าคัดนะจ๊ะ จะเสียเวลาทั้งทีก็เอาให้ได้ประโยชน์เต็มที่ ต้องเน้นที่ลำดับขีด จำส่วนประกอบ ความหมาย แล้วลองทดสอบหลายๆ รูปแบบ เช่น ดูคำแปลแล้วเขียนตัวจีน เห็นพินอินแล้วเขียนตัวจีน เห็นตัวจีนแปลเป็นไทย

 

สุดท้ายแล้วการจดจำและอ่านตัวจีนได้นั้น แก่นสำคัญก็คือเห็นบ่อยใช้บ่อย จึงจำได้นั่นแหละค่ะ ไม่มีอะไรซับซ้อนมากกว่านี้ ที่สุ่ยหลินแนะนำข้างบนคือทำอย่างไรให้เราจำได้เร็วขึ้นและมีหลักการในการจดจำได้เป็นระบบมากกว่าเดิม หวังว่าคงมีประโยชน์กับแฟนเพจเหมือนเช่นเคยค่ะ

สุ่ยหลิน^^

SHARE
Previous articleสัมภาษณ์พิเศษสุ่ยหลินกับน้องพลอยใส: เป็นแอร์จีนได้อะไร?
Next article3 “เพื่อ” ในภาษาจีน
สุ่ยหลิน เริ่มต้นจากการเป็นนักเขียนหนังสือภาษาจีน ตอนนี้มีผลงานหนังสือ 14 เล่มเป็นบก.หนังสืออีก 1 เล่ม คอร์สออนไลน์ Chinese Hack (ภาษาจีนเบื้องต้น) คอร์สออนไลน์ Pinyin และ คอร์สออนไลน์ HSK3 และ HSK4 ค่ะ เป้าหมายของสุ่ยหลินคือ ตั้งใจทำหนังสือ โพส คลิป Live และคอร์สออนไลน์สอนภาษาจีนที่เข้าใจง่าย สนุกไม่น่าเบื่อแต่ใช้งานได้จริงค่ะ นอกจากนี้ สุ่ยหลินยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์ภาษาจีน ChineseBang 中文棒 อีกด้วยค่ะ