是…的 [shì…de] เห็นว่าง่ายๆ แต่ไหงงงทู๊กที!!! (HSK 3)

99171
SHARE

วันนี้สุ่ยหลินพามารู้จักกับ 是…的 กันค่ะ ซึ่งทั้งสองตัวคือ 是 [shì] และ 的 [de] ทุกคนคงรู้จักกันเป็นอย่างดีใช่ไหมคะ เพราะติดโผอยู่ในลิสต์อักษรจีนใช้บ่อยกับเขาด้วยนา แถมยังแอบแจมในข้อสอบ HSK 3 อีกด้วย

แต่ถึงแม้ว่าเราจะรู้จักดี แต่พอมาเป็นโครงสร้าง 是…的 ทีไรเราเป็นต้องงงทู๊กที เพราะไวยากรณ์ตัวเนี้ยไม่เหมือนภาษาไทย แต่ปรากฏว่าคนจีนใช้บ่อยมว๊ากก และเป็นส่วนหนึ่งของข้อสอบ HSK 3 ที่สอบเรื่องเนี้ยประจำด้วยล่ะ

ว่าแล้วอย่ารอช้า มารู้จักโครงสร้าง 是…的 ในวันนี้กันดีกว่าาาาา^^ (ต้องอ่านแบบเอคโค่นะ ถึงจะได้ใจจจจ)

ง่ายๆ เลยค่ะ 是…的 คือรูปประโยคเน้น โดยสิ่งที่ต้องการเน้นและกริยา จะอยู่ระหว่าง 是…的  ประโยคแบบนี้เราจะใช้กับการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่การกระทำได้จบลงไปแล้วนะจ๊ะ  เช่น

我是昨天来的。[Wǒ shì zuótiān lái de.] = เน้นว่าชั้นมาเมื่อวานนี้นะ ไม่ได้มาวันอื่น

我是坐飞机来的。[Wǒ shì zuò fēijī lái de.] = เน้นว่าชั้นนั่งเครื่องบินมานะ ไม่ได้เดินมาหรือมาด้วยวิธีอื่น

คำถาม  ถ้าจะพูดว่า 我昨天来。[Wǒ zuótiān lái.]  ได้มั๊ยยย??
ตอบเรยว่า ได้ดดดด!!! แต่ไม่เป็นประโยคเน้นค่า คือแค่บอกว่าชั้นมาเมื่อวานแค่นั้นจบนะ แต่ไม่ได้เน้น ว่าชั้นมาตั้งแต่เมื่อวานแน่ะ จะว่าชั้นมาช้าได้ยังไง

ถ้าพูดสรุปเป็นข้อๆ โครงสร้าง  是…的 ใช้แบบนี้ค่า

1. คือเอาไว้ใช้ตอนต้องการเน้นส่วนหนึ่งส่วนใดของประโยค (เวลา วิธีการ สถานที่ หรืออื่นๆ)
2. ใช้กับการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่การกระทำได้จบลงไปแล้ว
3. เน้นอะไร ให้เอาไว้หลัง 是
4. 是 ในโครงสร้าง 是…的 นั้นละได้ (แต่ประโยคอื่นๆ ละไม่ได้นะคับ)
5. หากใช้โครงสร้าง 是…的 เป็นแบบคำถาม เปลี่ยนสิ่งที่ต้องการเน้นให้เป็นคำถามเป็นอันจบปิ้ง!
6. ถ้าจะมีกรรมต่อท้าย 的 ต้องเป็นกรรมที่เป็นสถานที่หรือสิ่งของ (อย่าใช้กรรมเป็นคน หรือ สัตว์ค่ะ)

มาชำแหละ เอ้ย…ถอดโครงสร้างทีละตัวน้า

โครงสร้างประโยค 是…的

ประธาน +  + สิ่งที่ต้องการเน้น + กริยา +

ซึ่งส่วนใหญ่เราใช้โครงสร้างประโยคแบบนี้เพื่อเน้น การกระทำหรือความเป็นไปของกริยาในประโยคค่ะ ซึ่งจะเป็น เวลา วิธีการ หรือ สถานที่ ก็ได้ค่ะ (จริงๆเน้นอย่างอื่นได้หมดนะคะ แต่ 3 อย่างที่พูดถึงคือที่ใช้บ่อยๆ)

**อีกข้อสังเกตนึงคือประโยค 是…的 จะเป็นเหตุการณ์ในอดีตที่จบลงแล้วจ้า**

วิธีการใช้ 是…的

สิ่งที่เราต้องทำก็คือ อยากเน้นอะไร (เวลา วิธีการ สถานที่ หรืออื่นๆ) ก็เอาไว้หลัง 是 ได้เลยค่ะ มาดูตัวอย่างกันดีกว่านะ

เน้นเวลา

她 是 2012年 毕业 
[Tā shì 2012 nián bìyè de]
หล่อนจบการศึกษาเมื่อปี 2012 (ม่ะใช่ปีอื่น)

เน้นวิธีการ

跟他朋友一起 旅行
[Tā shì gēn tā péngyǒu yīqǐ qù lǚxíng de.]
เค้ากับเพื่อนของเค้าไปเดินทางไปด้วยกัน (เน้นว่าไปกะเพื่อนน้า แม่อย่าว่า พ่ออย่าดุ ไม่ได้ไปกับแฟน)

我们 坐火车
[Wǒmen shì zuò huǒchē lái de.]
พวกเรานั่งรถไฟมา

เน้นสถานที่

我们 在泰国 认识
[Wǒmen shì zài tàiguó rènshí de.]
พวกเรารู้จักกันที่เมืองไทยน้า (ไม่ใช่ที่อื่น)

在中国 学习 汉语
[Tā shì zài zhōngguó xuéxí hànyǔ de.]
หล่อนเรียนภาษาจีนที่เมืองจีนมา (เน้นว่าเรียนที่เมืองจีนมานะ ไม่ได้เรียนที่ปารากวัย)

ใช้ 是…的 เน้นรายละเอียดที่แตกต่างกันของประโยค

เอาล่ะ เรามาซับซ้อนอีกจิ๊ดนึง รู้หรือป่าวว่าใน 1 ประโยคที่ยาวๆ เนี่ยเราสามารถเลือกว่าจะใส่ 是…的 ตรงไหนก็ได้ อารมณ์คือเราต้องการเน้นตรงไหน ให้ใส่ตรงนั้น โดยส่วนที่ต้องการเน้นจะอยู่หลัง 是

คราวนี้ลองมาดูประโยคเดียวกันแต่ใช้ 是…的 เน้นคนละที่นะคะ เพื่อความเข้าใจใสกระจ่างงงง เช่น

ประโยคตั้งต้น
我星期六跟我家人在饭馆吃饭。
[Wǒ xīngqíliù gēn wǒjiā rén zài fànguǎn chīfàn.]
วันเสาร์ชั้นกับครอบครัวไปกินข้าวที่ร้าน

เอาล่ะ ขึ้นอยู่กับเราว่าอยากเน้นอะไรดี?
ถ้าอยากเน้นเวลา เอาเวลา (星期六) ไว้หลัง 是 สิ ประโยคก็จะเป็น
我跟我家人 星期六 在饭馆吃饭
ชั้นกับครอบครัวไปกินข้าวที่ร้านเมื่อ “วันเสาร์”

เน้นสถานที่ เอาสถานที่ (在饭馆)ไว้หลัง 是 สิ
我星期六跟我家人 在饭馆 吃饭
วันเสาร์ชั้นกับครอบครัว “ไปกินข้าวที่ร้าน”

มาเน้นวิธีการ ก็เอาวิธีการ (跟我家人) ไว้หลัง是
我星期六在饭馆 跟我家人 吃饭
วันเสาร์ชั้นกับ “ครอบครัวของชั้น” ไปกินข้าวที่ร้าน

ไม่ยากใช่ป่าวคะ?

เวลาที่ 是…的  เป็นประโยคคำถามล่ะ?

สำหรับเวลาแปลงร่างเป็นคำถาม ง่ายมากๆ เลย วิธีการก็คือ เปลี่ยนส่วนที่เน้นให้เป็นคำถามก็แค่นั้นเอง มาดูกัน
สุ่ยหลินเอาตัวอย่างข้างบนมาทำให้เป็นประโยคคำถามนะ

他们什么时候 (เน้นเวลา)
[Tāmen shì shénme shíhòu lái de?]
พวกเค้ามาถึงเมื่อไหร่เหรอ?

你们怎么 (เน้นวิธีการ)
[Nǐmen shì zěnme lái de?]
พวกเธอมายังไงเนี่ย?

你们在哪儿认识
[Nǐmen shì zài nǎ’er rènshí de?]
พวกเธอรู้จักกันที่ไหน?

ถ้าเป็นประโยคถามแบบให้ตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ ก็ง่ายยิ่งกว่าแค่เติม 吗? เช่น

他们昨天吗?
[Tāmen shì zuótiān lái de ma?]
พวกเขามาถึงเมื่อวานใช่มั๊ย?

 

是….的 ไม่ถูกกันกับ 了 จะมาอยู่ร่วมกันไม่ได้

อย่างที่บอกค่ะ โครงสร้างประโยค 是….的 เป็นประโยคที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่การกระทำจบลงไปแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้บริการของ了เพื่อบอกว่าการกระทำจบลงแล้วให้ซ้ำซ้อนกันอีกค่ะ

2012年 毕业
2012年 毕业 。X   (เติม  ไม่ได้)

在中国 学习 汉语
在中国 学习 汉语 。 X  (เติม  ไม่ได้)

 

บางครั้ง 的 ก็เป็นเด็กซน ไม่อยู่กับที่

โดยปกติแล้วเราจะเห็น 的อยู่ท้ายประโยคค่ะ แต่บางที่เราก็เจอว่าบางประโยคมีกรรมต่อท้าย 的 ด้วย มันใช่เหรอ??
ตอบเรยว่า ต่อได้ค่าาา มิผิดถ้าประโยคนั้นมีกรรม แต่คำที่ต่อได้ต้องเป็นสิ่งของหรือสถานที่นะจ๊ะ เช่น

上个月来北京。
[Wǒ shì shànggeyuè lái de Běijīng.]
ชั้นมาปักกิ่งเมื่อเดือนที่แล้ว (ประโยคนี้ต้องการเน้น 上个月 ให้ชัดแจ่ม เลยเอา 北京 ไว้หลัง 的 )

หรือเอา 的 ปิดท้ายแบบที่เราคุ้นเคยก็ได้นะ ซึ่งแบบนี้จะเห็นบ่อยกว่า
上个月来北京
[Wǒ shì shànggèyuè lái Běijīng de.]
ชั้นมาปักกิ่งเมื่อเดือนที่แล้ว

แต่ระวังอย่าเอากรรมที่เป็นคนหรือสัตว์ไว้ต่อท้าย 的 นะคะ มันผิดผี…เอ้ย..ผิดไวยากรณ์ ผิดความหมายค่าาา

我是昨天买的猪。 อันนี้ผิด ตู้ดๆๆๆ
[Wǒ shì zuótiān mǎi de zhū.]
ชั้นคือหมูที่ซื้อมาเมื่อวาน!!! (รู้ได้ไงว่าเราเป็นหมู? อ่าวๆ ไม่ใช่ล่ะ)

昨天买猪。อันนี้ถูก ปิ๊งป่อง!!
[Wǒ shì zuótiān mǎi zhū de.]
ชั้นซื้อหมูมาเมื่อวาน

เรื่อง 的 ไม่อยู่ท้ายประโยคในโครงสร้าง 是…的 เนี่ย สุ่ยหลินแค่อยากจะบอกไว้ว่ามันมีแบบนี้ด้วย แต่เจอไม่บ่อย หากเจอแล้วเราก็จะได้ไม่งงกัน หากเราจะใช้พูดเอง แรกๆไม่คล่อง ก็ใช้ 的 อยู่ท้ายประโยคเซฟสุดค่ะ เก่งๆแล้วค่อยเล่นท่ายากนะ

 

是 ในโครงสร้าง 是…的 นั้นละได้

อีกอย่างที่อยากบอกไว้ก่อนกันงง ว่า 是 ในโครงสร้าง 是…的 นั้นละได้นะจ๊ะ เวลาเจอจะได้ไม่งงเพราะที่ใช้ๆ กันมักจะละ 是 ซะด้วยสิ ดูตัวอย่าง

我们在泰国认识ละเป็น 我们在泰国认识= พวกเรารู้จักกันที่เมืองไทย
และจะมาเต็มๆในรูปประโยคปฏิเสธ เพราะละ “ไม่ได้” นะจ๊ะ
我们不是在泰国认识= พวกเราไม่ได้รู้จักกันที่เมืองไทยซะหน่อย

สรุปปิดท้ายนิสนุง

สำหรับโครงสร้าง 是…的 สุ่ยหลินว่าไม่ยากเกินนะ  ที่สำคัญต้องหัดใช้หัดพูดนะ พอมันเป็นธรรมชาติ เราก็ไม่ต้องจำมันอีกเลย ไม่ต้องอะไรมาก คนจีนไม่ต้องเรียนไวยากรณ์จีนก็พูดได้ใช้ถูก   คนไทยไม่ต้องเรียนไวยากรณ์ไทยก็พูดไทยถูกไวยากรณ์เป๊ะเหมือนกัน

แต่ที่เราต้องเรียนไวยากรณ์เพราะว่ามันเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเข้าใจภาษาได้ดี เร็ว ลึกซึ้งขึ้น แต่เมื่อรู้ทฤษฎีแล้ว สิ่งที่สุ่ยหลินอยากเน้นคือเอาไปใช้พูดให้เกิดทักษะตามธรรมชาติ เราก็จะได้ไม่ต้องจำอีก ดีกว่าท่องๆ แบบนกแก้วนกขุนทอง ซึ่งแปปเดียวก็ลืมล่ะ
และต่อไปเมื่อเราใช้จนคล่องแล้ว มีคนมาถามเรื่อง 是…的 (และอื่นๆ) เราอาจจะ เอ๊ะ! ชั้นก็พูดแบบนี้ ก็แบบเดียวกับที่คนจีนเค้าใช้พูดกัน เอ..จะอธิบายยังไงดีล่ะ? นี่เองไวยากรณ์จึงต้องมีเพื่ออธิบายเหตุผล เป็นเช่นนี้แล
หวังว่าคงมีประโยชน์กับแฟนแพจของสุ่ยหลินนะคะ สู้ๆ จ้าา

คอร์ส HSK3 ผ่านฉลุยกับสุ่ยหลิน

สุ่ยหลินเองมีคอร์สออนไลน์ HSK3 การันตีว่าเรียนแล้วสอบได้ 200 คะแนนup! สอบไม่ผ่านเรียนซ้ำฟรี! ทั้งหมดเฉลยจากข้อสอบจริง มีตัวอย่างข้อสอบให้ลองทำจริงๆ ด้วย https://www.opendurian.com/hsk3/

มีหนังสือจัดส่งให้ถึงบ้าน ฟรี ด้วยค่าาาาา ใครต้องเอาผลสอบไปยื่น ต้องเรียนแล้วนะ! ราคาคอร์ส 3,740 บาท ทั้งหมด 32 คลิป ยิ่งเริ่มช้า ยิ่งเสียเวลานะจ๊ะ^^

https://www.opendurian.com/hsk3/

สุ่ยหลิน ^^

SHARE
Previous articleจะเรียงลำดับประโยค ภาษาจีน ยังไงให้ถูก !?!?
Next articleศัพท์นักกิน เพราะเรื่องกินมันคือเรื่องหญ่ายยยย^^
สุ่ยหลิน เริ่มต้นจากการเป็นนักเขียนหนังสือภาษาจีน ตอนนี้มีผลงานหนังสือ 14 เล่มเป็นบก.หนังสืออีก 1 เล่ม คอร์สออนไลน์ Chinese Hack (ภาษาจีนเบื้องต้น) คอร์สออนไลน์ Pinyin และ คอร์สออนไลน์ HSK3 และ HSK4 ค่ะ เป้าหมายของสุ่ยหลินคือ ตั้งใจทำหนังสือ โพส คลิป Live และคอร์สออนไลน์สอนภาษาจีนที่เข้าใจง่าย สนุกไม่น่าเบื่อแต่ใช้งานได้จริงค่ะ นอกจากนี้ สุ่ยหลินยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์ภาษาจีน ChineseBang 中文棒 อีกด้วยค่ะ