一直 กับ 总是 ต่างกันยังไง?

总是VS一直

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน ถ้าใครเรียนผ่านระดับ HSK3 มาแล้วน่าจะเคยผ่านตาคำว่า 一直 [yīzhí] และ 总是 [zǒngshì] กันนะคะ

ทั้งคู่ต่างก็เป็นคำวิเศษณ์แสดงเวลา (时间副词) แปลเป็นไทยก็ช่างคล้ายกันว่า “เสมอ” “ประจำ” หรือ “ตลอด” และบางประโยคก็ใช้แทนกันได้ด้วย แล้วตกลงว่าทั้งสองคำนี้มีจุดแตกต่างไหม? ต่างกันตรงไหน? สุ่ยหลินจะไขให้กระจ่างในโพสนี้ ติดตามอ่านกันได้เลยค่ะ

รอบรู้เรื่องของ 从 คำบุพบพ 介词 ในภาษาจีนที่มีคู่เดทไม่ซ้ำหน้า

从 介词

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ อย่างที่เรารู้กันว่าอักษรจีนคืออักษรภาพ ดั้งเดิมคือเขียนอักษรมาอย่างที่ตาเห็น วันนี้สุ่ยหลินขอนำเสนออักษรจีนอีกตัวที่เกิดแบบลักษณะข้างต้น และที่สำคัญยังใช้ต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายๆ พันปีจนถึงปัจจุบันนะจ๊ะ

นั่นก็คืออักษร 从 [cóng] สังเกตดีๆ ว่าเป็นรูป 人 คน 2 คน เดินตามกันมา ดังนั้น ความหมายดั้งเดิมก็คือ “เดินตาม” ตอนหลังความหมายก็ขยายกว้างขึ้น และความหมายที่เราเห็นกันบ่อยๆ ก็คือ “จาก” (ไม่ได้หมายถึงการลาจากนะเพราะเป็น “จาก” ที่มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า from ต่างหากล่ะ) ซึ่งก็ยังมีความหมายที่สื่อถึงการเคลื่อนที่ (จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง)

วันนี้เรามารู้จัก 从 ในแง่มุมต่างๆ ทางไวยากรณ์กันว่าใช้ยังไง? และขอแอบบอกว่าเจ้า 从 เนี่ยอยู่คนเดียวก็อยู่ได้ แต่ถ้าหากเขามีคู่ ก็แอบมีคู่ตั้งมากมาย เรียกว่าเป็นคาสิโนว่าอักษรจีนหรือเปล่าเนี่ยฮะเรา!

ติดตามเรื่องของ 从 คนเดินตามกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และวิธีการใช้แบบละเอียดยิบ ได้ในโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ^^

ภาษาอังกฤษใช้ Tense บอกเหตุการณ์ก่อนหลัง แล้วภาษาจีนใช้อะไร???

以后, 然后 และ 后来

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ เวลาเราจะเล่าว่าเหตุการณ์อะไร เล่าว่าเหตุการณ์อะไรเกิดก่อน เหตุการณ์อะไรเกิดหลัง ภาษาอังกฤษพอจะมี Tense มาช่วยบอก แล้วภาษาจีนล่ะ เค้าใช้บอกกันยังไง??

ว่ากันตามตรงแล้วจะเล่าลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังในภาษาจีนนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับภาษาไทยเลยนะ  เราพูดภาษาไทยเองเราก็เพิ่มเติมคำบอกลำดับก่อนหลังเข้ามา เช่น “หลังจากนั้น”  “ภายหลัง” หรือ “ตอนหลัง” ภาษาจีนก็เหมือนกันเด๊ะๆ เลย ไม่ยากเลยใช่ไหมเอ่ย ติดตามแบบละเอียดกันต่อเลยค่าา

是…的 [shì…de] เห็นว่าง่ายๆ แต่ไหงงงทู๊กที!!! (HSK 3)

是....的 HSK

วันนี้สุ่ยหลินพามารู้จักกับ 是…的 กันค่ะ ซึ่งทั้งสองตัวคือ 是 [shì] และ 的 [de] ทุกคนคงรู้จักกันเป็นอย่างดีใช่ไหมคะ เพราะติดโผอยู่ในลิสต์อักษรจีนใช้บ่อยกับเขาด้วยนา แถมยังแอบแจมในข้อสอบ HSK 3 อีกด้วย

แต่ถึงแม้ว่าเราจะรู้จักดี แต่พอมาเป็นโครงสร้าง 是…的 ทีไรเราเป็นต้องงงทู๊กที เพราะไวยากรณ์ตัวเนี้ยไม่เหมือนภาษาไทย แต่ปรากฏว่าคนจีนใช้บ่อยมว๊ากก และเป็นส่วนหนึ่งของข้อสอบ HSK 3 ที่สอบเรื่องเนี้ยประจำด้วยล่ะ

ว่าแล้วอย่ารอช้า มารู้จักโครงสร้าง 是…的 ในวันนี้กันดีกว่าาาาา^^ (ต้องอ่านแบบเอคโค่นะ ถึงจะได้ใจจจจ)

เรื่องเน้นๆกับ 已经…了

สวัสดีค่าแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ ห่างหายจากไวยากรณ์ไปซะนาน งั้นวันนี้เรามาเรียนรู้ไวยากรณ์ง๊ายง่ายกันอีกครั้งนะจ๊ะ ไวยากรณ์ที่ว่าก็คือ 已经…了 [yǐjīng…le] ความสามารถพิเศษของคำนี้ก็คือ “เน้น”ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วน้าา หากว่าเราอยากจะเน้นอะไร เราก็เอา 已经 ไปไว้หน้าตรงส่วนที่ต้องการเน้น และจบประโยคด้วย了 เป็นอันเสร็จสิ้น ง่ายฝุดๆ ว่าแต่ 已经 …了 เน้นอะไรได้บ้างล่ะนี่? ถ้าอยากรู้ก็ต้องอ่านต่อนะจ๊ะ แล้วจะอึ้ง! ทึ่ง! ว่าเห้ยย..เน้นได้เยอะขนาด??

ติดตาม เรื่องเน้นๆ เวลาเราอยากจะเน้น กับ 已经…了 ได้ในโพสนี้กับสุ่ยหลินเลยค่า

การซ้ำคำในภาษาจีน (PAT 7.4 เฉพาะกิจ!!)

การซ้ำคำในภาษาจีน

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ โพสนี้สุ่ยหลินถือว่าเป็นโพสเฉพาะกิจเพื่อน้องๆ ที่กำลังจะสอบ PAT7.4  สุ่ยหลินขอเลือกเอาหนึ่งในเรื่องชอบออกข้อสอบใน PAT7.4 มาเล่าให้ฟังนะจ๊ะ

เรื่องนั้นก็คือ “การซ้ำคำ” ในภาษาจีนค่ะ จะเป็นยังไงนั้น ติดตามได้เลยโดยด่วนจ้าา (เวลาสอบเห็นเรื่องนี้ปุ๊ปอย่าลืมคิดถึงพี่สุ่ยหลินนาจา อิ อิ)

สุ่ยหลินว่าพวกเราที่เรียนภาษาจีนเนี่ย ต้องผ่านตาการซ้ำคำในภาษาจีนกันมามั่ง อย่างเช่นประโยคพูดบ่อยๆเลยก็ต้อง 谢谢![xièxie]  ประโยคยาวอีกนิดก็อย่างเช่น 你看看。[Nǐ kànkan.] แบบมาซ้ำเป็นคู่ก็มีนะ 全家上上下下都很高兴。[Quánjiā shàngshàng xiàxià dōu hěn gāoxìng.] และที่สำคัญเรื่องนี้นอกจากจะออกสอบ HSK แล้ว ยังชอบไปโผล่ใน PAT 7.4 ด้วยนะ รีบตามมาอ่านด่วนเพราะได้สองเด้งเลยน้าาา

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน:知道 [zhīdào] 认识 [rènshi] 熟悉 [shúxī] แปลว่ารู้จักเหมือนกัน แต่ระดับมันต่างกัน!!

สวัสดีค่าาแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลินทุกคนคะ^^ สุ่ยหลินไปย้อนดูโพสเก่าๆ ของสุ่ยหลินเจอว่าตัวเองทำซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือนออกมาเยอะแยะเลยค่ะ มีเป็นสิบๆ ตอนเลยนะ ใครยังไม่ได้อ่านตอนไหนกดรูปแว่นขยาย search หา “คำเหมื๊อนเหมือน” ได้เลยนะจ๊ะ

ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าถามสุ่ยหลิน ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือนทำขึ้นมาเพื่อตอบปัญหาเรื่องคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันในภาษาจีน (近义词) ซึ่งมีเยอะมว๊ากกก จะเยอะไปไหนจ๊ะ ที่สำคัญคำพวกนี้ก็สมชื่อ คือต่างกันทีอย่างละนิดอย่างหน่อย ประมาณว่าภาษาไทยใช้คำเดียวครอบคลุมทุกสถานการณ์แต่ภาษาจีนแยกใช้ออกเป็นคำนี้ คำนั้น คำนู้นนน TT

และเพราะว่าซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือนสำคัญแบบนี้นิเอง สุ่ยหลินเลยมีแผนว่าจะรวบเล่มและจะเขียนตอนใหม่เพิ่มเติมเข้าไปด้วยแฟนเพจคนไหนสนใจ ยกมือ (คอมเม้นท์) ให้สุ่ยหลินรู้บ้างนะจ๊ะ จะได้ทำให้ถูกใจค่าาา

และในโพสวันนี้ก็เหมือนกัน ทั้ง 知道 [zhīdào] 认识 [rènshi] และ 熟悉 [shúxī] ต่างก็แปลง่ายๆ ว่ารู้จักค่ะ แต่ต่างกันที่ดีกรี เอ่???  วันนี้เรามารู้จักทั้ง 3 คำ ให้ลึกกว่าแค่แปลว่ารู้จักกันในโพสนี้กับสุ่ยหลินค่าา

ชั้นสวยกว่าหล่อน!!! (ประโยคเปรียบเทียบ 比较句 – HSK 3 )

比และ 没有
ประโยคเปรียบเทียบ 比และ 没有 – HSK 3

ในภาษาจีนเนี่ย ก็มีประโยคเปรียบเทียบเหมือนกันนะคะ เหมือนกับภาษาไทยเวลาเราจะเปรียบอะไรกับอะไรว่าดีกว่า สวยกว่า หรือถูกกว่า ประโยคแบบนี้ภาษาจีนเค้าเรียกว่า 比较句 [bǐjiào jù] หรือประโยคเปรียบเทียบนั่นเองงงง วันนี้เรามารู้จัก 比较句 กันดีกว่า เพราะเวลาจะบอกว่าชั้นเริ่ดกว่าเธอวว์เราจะได้พูดได้ ….หรือจะบอกว่าแฟนเค้าหล่อกว่าแฟนชั้น ก็จะได้พูดได้ด้วย เป็นงั้นไป แป่ว TT * 比较句 มีสอบใน HSK 3 ด้วยนะจ๊ะ

ติดตามจ้า

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน:一点儿 (นิดนึง) กับ 一些 (ส่วนนึง) ต่างกันตรงไหน???

สวัสดีค่าแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลินคะ^^ วันนี้สุ่ยหลินมากับเรื่องจิ๊บๆ แต่อาจจะไม่จิ๊บสำหรับบางคน นั่นคือเรื่องของ 一点儿 [yīdiǎnr] กับ 一些 [yīxiē] ค่ะ ในเมื่อทั้งคู่ก็แปลว่า “(จำนวน) เล็กน้อย” ด้วยกันทั้งคู่เลย ถ้าแปลเหมือนกันแล้วใช้แทนกันได้หรือเปล่าเอ่ย? ถ้าไม่เหมือน แล้วมันต่างกันตรงไหน?? ยังไง??? เค้างงนะ!

ติดตามสุ่ยหลินเฉลยได้ในซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน:一点儿 (นิดนุง) กับ 一些 (ส่วนนึง) ในโพสนี้เลยค่าา

ซีรีย์คำเดียวกัน แต่ไหงอ่านไม่เหมือนกัน ตอน: 教 [jiāo] หรือ [jiào] กันแน่???

สวัสดีค่าแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลินทุกคน^^ ห่างหายจากซีรีย์คำเดียวกัน แต่ไหงอ่านไม่เหมือนกันไปสักพักนะจ๊ะ ได้เวลากลับมาปวดหัว เย้ยย…เรียนกับ 多音词 [duōyīncí] = คำหลายเสียงในภาษาจีนกันแล้วน้าา วันนี้สุ่ยหลินขอนำเสนอคำที่เรารู้จักกันดีมากๆ คือคำว่า 教 ที่เรารู้จักกันแปลว่า “สอน” เพราะเราต้องเข้า “ห้องเรียน” 教室 กันมาแล้วทุกคนใช่ป่าวจ๊ะ?

ว่าแต่คำนี้ไหงบางทีได้ยินคนจีนอ่านว่า [jiāo]  บางทีอ่านว่า [jiào] อ่ะ?? แถมคำว่า 教授 ที่เรารู้จักว่าหมายถึง “ศาสตราจารย์” ตกลงอ่านว่า [jiàoshòu] หรือ [jiāoshòu] กันแน่?? ถ้าอ่านว่า [jiàoshòu] ทำไมบางทีได้ยินคำว่า [jiāoshòu] แต่เขียนแบบนี้เหมือนกันเด๊ะๆ เลยอ่ะ ตกลงว่าเค้าผิดหรือชั้นงงเอง!! TT

ติดตามเรื่อง 教 คำหลายเสียง เรื่องสอนๆ ที่เหมือนง่ายๆ แต่ไม่ง่ายได้ในโพสนี้กะสุ่ยหลินค่าา^^