คนไทยเรียกชาวตะวันตกว่า “ฝรั่ง” แล้ว คนจีนเรียกว่าอะไรใครรู้บ้าง?

12307
SHARE

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ พวกเราคนไทยเวลาเจอชาวตะวันตกที่หน้าตา ผิวพรรณไม่เหมือนเรา เราก็จะเรียกรวมๆ ว่า “ฝรั่ง” ถูกมั๊ยคะ ที่มาของคำนี้สุ่ยหลินก็เพิ่งมารู้จากละครบุพเพสันนิวาสนี่ล่ะค่ะ ว่าทำไมคนไทยสมัยก่อนถึงเรียกชาวตะวันตกว่าฝรั่ง ในทางกลับกัน คนจีนล่ะ? เขาเรียกชาวตะวันตกว่าอะไรใครรู้บ้าง? ใครยังไม่รู้ต้องอ่านโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ

คนจีนเรียกชาวตะวันตกว่าอะไร?

ต้องขอเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาเรียง Timeline เริ่มตั้งแต่คำศัพท์ที่คนจีนใช้มาตั้งแต่สมัยก่อน จนถึงศัพท์สมัยปัจจุบันเลยนะคะ

คำเรียกชาวตะวันตกคำแรกที่คนจีนใช้คือคำว่า 洋人 [yángrén]   คำนี้เกิดมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง เป็นสมัยที่ประเทศจีนโดนชาวตะวันตกนั่งเรือจากทางมหาสมุทรมาบุกรุก ซึ่งก็คือยุคล่าอาณานิคมของฝรั่งนั่นเองค่ะ ที่เรียกแบบนี้ก็เพราะว่า 洋 มาจาก 海洋 [hǎiyáng]  ที่หมายถึงมหาสมุทร คำนี้ถึงเอาไปเรียกคนต่างชาติ โดยเฉพาะชาติตะวันตกนั่นเอง

洋人

นอกจากนี้ก็สามารถเรียกว่า 西洋人 [xīyángrén]  แปลตรงตัวว่าคนตะวันตก หรือคนที่มาจากมหาสมุทรด้านตะวันตก เพราะทิศทางที่ฝรั่งมานั้นมาจากทิศตะวันตกของประเทศจีนนั่นเอง บางทีเรียกย่อๆ ว่า 西人 [xīrén] ในที่มาและความหมายแบบเดียวกัน

(เคยมีข้อสอบ HSK ถามด้วยว่า 西人 หมายถึงอะไร? คำตอบที่คนตอบผิดมากที่สุดก็คือคนที่อยู่อาศัยทางทิศตะวันตก ในความเป็นจริงหมายถึงฝรั่งต่างหาก)

ต่อมา ล่วงมาถึงยุคปัจจุบันมากขึ้นอีกนิด ก็เกิดคำศัพท์ขึ้นมาใหม่อีกคำนั่นก็คือ  外国人 [wàiguórén] แปลตรงตัวว่าคนนอกประเทศ ถือเป็นคำกลางๆ ค่ะ จากคำว่า 外国人 ก็พัฒนามาเป็นอีกคำก็เราหลายคนคุ้นเคยกันดีคือ  老外 [lǎowài] โดยมาจาก 外 ก็คือ 外国人 ส่วนคำว่า 老 [lǎo] มาจากธรรมเนียมที่คนจีนใช้เรียกเพื่อนฝูงในความรู้สึกที่สนิมสนมกัน เช่น คนจีนเรียกแซ่เพื่อนแล้วเติมคำว่า 老 ข้างหน้า เช่น 老张 , 老李 เป็นต้น

 

สุ่ยหลินอ่านเจอมาว่าคำว่า 老外 มาเกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน 改革开放 [gǎigékāifàng] ประมาณปี 1978 ถือเป็นครั้งแรกที่จีนเปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างชาติ และอนุญาตให้คนทั่วไปสามารถเริ่มต้นและเป็นเจ้าของธุรกิจได้ เพราะแต่ก่อนทุกอย่างเป็นของรัฐหมด

นอกจากนี้ยังเริ่มโอนกิจการของรัฐไปเป็นของเอกชน ทำสัญญาให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในอุตสาหกรรมที่รัฐเป็นเจ้าของ รวมทั้งยกเลิกมาตรการควบคุมราคาสินค้า นโยบายปกป้องธุรกิจ และกฎระเบียบหลายอย่างลง ในช่วงเวลานี้คนจีนกับคนต่างชาติเริ่มทำธุรกิจร่วมกันเลยเกิดเป็นคำศัพท์ว่า 老外 เพราะสนิทกัน ทำธุรกิจร่วมกันศัพท์คำนี้เลยเกิดขึ้นมา

外国人

ปัจจุบันคำว่า 外国人 และ 老外 ยังใช้อยู่ในภาษาจีนทุกวันนี้นะคะ โดย 外国人 จะเป็นทางการมากกว่าและ 老外 ยังเป็นภาษาพูดมากกว่า นอกจากทั้งสองคำยังมีคำอื่นๆ ที่คนจีนใช้เรียกชาวตะวันตกหรือคนต่างชาติอีก

白人 [báirén] คนผิวขาว ไว้เรียกชาวต่างชาติที่มีผิวขาว

黑人 [hēirén] คนผิวดำ (มีความหมายเชิงลบเปรียบเหมือนกับคนไทยเรียกคนผิวดำว่า คนดำ) และคำนี้มีอีกหนึ่งความหมายที่ใช้กันบ่อยค่ะ โดยจะหมายถึงคนที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านอย่างถูกกฏหมาย เช่น พ่อแม่ไม่ได้แจ้งทางการตอนเกิด แล้วพ่อแม่ตายหมดแล้วเลยกลายเป็นคนที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ไม่มีบัตรประชาชน เมื่อไม่มีบัตรประชาชนก็เป็นคนผิดกฏหมาย หรืออีกกรณีก็คือมีลูกเกินโควต้าที่รัฐบาลให้ จึงไม่ได้แจ้งเกิด เด็กคนนั้นก็กลายเป็น 黑人 ไปโดยปริยายค่ะ

欧洲人 [Ōuzhōurén] คนยุโรป เอาจริงๆ คนจีนจำนวนมากก็ไม่รู้ว่าคนยุโรปต่างกับคนอเมริกันยังไงหรอกค่ะ เหมือนๆ กับที่เราคนไทยก็แยกไม่ออกเหมือนกันว่าเป็นคนยุโรปหรืออเมริกัน ดังนั้นคำนี้จึงใช้เรียกรวมๆ ชาวต่างชาติไม่ว่าจะรู้แน่หรือไม่รู้แน่ว่าเป็นคนยุโรปหรือเปล่า

西方人 [Xīfāngrén] ชาวตะวันตก ถือเป็นศัพท์อีกคำเป็นศัพท์กลางๆ ไว้ใช้เรียกชาวต่างชาติของคนจีนค่ะ เรียกได้โอเค ไม่ถือว่าเหยียดแต่อย่างใด

ทุกวันนี้ที่สุ่ยหลินได้ยินคนจีนใช้บ่อยๆ ก็คือ 外国人 , 老外 และ 西方人  แค่คำศัพท์เรื่อง “ฝรั่ง” คำเดียวสามารถเล่าที่มาย้อนประวัติศาสตร์ได้เลยนะ ไม่แพ้ “ฝรั่งคี” ในละครเหมือนกัน

 

โครงการบริจาคหนังสือเข้าห้องสมุดของ ChineseBang 中文棒

แฟนเพจของสุ่ยหลินคงรู้แล้วช่วงนี้ทางสำนักพิมพ์ Chinesebang กำลังเปิดให้พรีออเดอร์หนังสือ “เล่าขานผ่านงิ้ว” อยู่ สุ่ยหลินอยากจะเล่าให้ฟังถึง project บริจาคหนังสือที่ทางสำนักพิมพ์ Chinesebang ทำมาตลอดค่ะ

แรกเริ่มเดิมทีสำนักพิมพ์ก็ตั้งใจแค่จะผลิตหนังสือภาษาจีนที่ท้องตลาดไม่มีออกขาย โดยคงคอนเซปต์ว่าเป็นหนังสือเรียนภาษาจีนนอกตำรา หนังสือไม่ค่อยเจอแต่ชีวิตจริงเจอบ่อยมาก พอทำๆ ไป สิ่งที่พวกเราเจอก็คือเราพบว่าค่าเฉลี่ยคนไทยเรียนภาษาจีนสู้คนชาติอื่นที่เรียนภาษาจีนไม่ค่อยได้ ยกตัวอย่าง เช่น เวียดนาม ญี่ปุ่น หรือ เกาหลี อ่านถึงตรงนี้หลายคนคงมีข้อขัดแย้งในใจว่า ไม่จริงสักหน่อย ภาษาจีนของฉันดีกว่าญี่ปุ่นหรือเกาหลีอีกหลายคนที่เจอ ซึ่งก็จริงค่ะ เราเห็นด้วย เพราะคุณ “ดีกว่า” ค่าเฉลี่ยไง แต่คนไทยส่วนมากมีค่าเฉลี่ยในระดับที่ต่ำกว่า

วิธีการดูว่าภาษาจีนอยู่ในระดับใช้งานได้หรือเปล่า ให้ดูง่ายๆ ว่าเราเรียนภาษาจีนมาอยู่ในระดับที่สื่อสารความต้องการในใจออกไปเป็นภาษาจีนได้หรือยัง พูดได้อย่างที่ใจคิดหรือเปล่า เวลาคนจีนพูดมาเราฟังเข้าใจสาระสำคัญของประโยคหรือเปล่า ถ้าทำได้ถือว่าเอาไปใช้งานได้ เพราะเวลาเราทำงานเราก็ต้องพูด ต้องฟัง ต้องสื่อสาร สิ่งที่เราต้องการพูดหรือคิด ถ้าแค่นี้ยังทำไม่ได้แล้วจะไปทำงานใช้ภา่ษาจีนได้ยังไง

ทีนี้หลายคนอาจมีข้อขัดแย้งอีกว่า ก็ญี่ปุ่นหรือเกาหลี มีอักษรตั้งต้นตั้งแต่สมัยโบราณเป็นภาษาจีนไง เรื่องธรรมดาที่เขาจะเรียนภาษาจีนเก่งกว่าคนไทยอยู่แล้ว ก็มีส่วนถูกค่ะเหตุผลที่พูดก็ใช่อยู่ แต่ส่วนตัวแล้วสุ่ยหลินคิดว่าคนเกาหลีรุ่นหลังๆ ไม่ค่อยได้เรียนอักษรตั้งต้นดั้งเดิมที่เป็นอักษรจีนเท่าไหร่แล้วนะ ส่วนคนญี่ปุ่นจะได้เปรียบกว่าตรงที่ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษรจีนอยู่ด้วยแต่อย่าลืม เขา “อ่านไม่ออกนะ” เขาออกเสียงคนละแบบกับภาษาจีนกลางค่ะ เขาก็ต้องเรียนการออกเสียงเหมือนกัน

ส่วนในกรณีของคนเวียดนามหลายคนที่เรียนประวัติศาสตร์มาจะรู้ว่าเวียดนามเคยเป็นประเทศราชของจีน ฮ่องเต้ของเวียดนามใส่ชุดมังกรเหมือนฮ่องเต้จีนเลยค่ะแต่เหลือมังกรเพียงแค่ 4 เล็บ (ในฐานะประเทศราชไม่ควรเทียบเทียม เรียกชุดแบบนี้ว่า ) คนจีนเวียดนามโพ้นทะเลรักษาภาษาจีนไว้ได้ส่วนหนึ่งค่ะ ถ้าคนเวียดนามรุ่นใหม่มีเขื้อสายจีนและที่บ้านยังรักษาภาษาจีนไว้ได้ เขาจะได้เปรียบเรื่องตัวอักษร แต่ “ไม่ได้เปรียบ” เรื่องการออกเสียงภาษาจีนกลาง เพราะคนจีนที่อพยพไปเวียดนามก็เป็นคนทางใต้ของจีนเหมือนกัน อารมณ์เดียวกับคนซัวเถาอพยพมาเมืองไทย พวกเขาพูดภาษาถิ่นค่ะไม่ได้พูดจีนกลาง ดังนั้น เขาก็ต้อง “เรียนการออกเสียง” ใหม่เหมือนกัน ส่วนคนท้องถิ่นเวียดนามที่ไม่ใช่คนจีนต้องเรียนภาษาจีนนับจาก 0 ใหม่หมดค่ะ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงฝรั่งต่างๆ เลยนะว่า เขาเรียนยากกว่าเราคนไทยเยอะ เพราะไม่มีวรรณยุกต์ และไม่มีพื้นฐานภาษาจากภาษาดั้งเดิมด้วย

ดังนั้น สุ่ยหลินคิดว่าการได้เปรียบหรือเสียเปรียบของคนไทยเรากับคนชาติอื่น จุดได้เปรียบเสียเปรียบมันมีแต่มันไม่เยอะ ส่วนหนึ่งคิดว่าอยู่โอกาสในการเรียนภาษาจีนของคนไทยมีน้อย สิ่งแวดล้อมก็มีน้อย หนังสือเรียนก็มีแต่ตำราเรียนเล่มมาตรฐาน แต่การเรียนภาษาจะเรียนแค่ในหนังสือเรียนเฉยๆ มันไม่ได้ คิดว่าดูว่าความรู้ภาษาจีนทั้งหมดเรารู้แค่ในตำราเราจะเข้าใจทั้งหมดได้ยังไง สุ่ยหลินและสำนักพิมพ์ Chinesebang  จึงได้จัดโครงการร่วมกับแฟนเพจบริจาคหนังสือให้กับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาจีนค่ะ

พวกเราทำมาตลอดแต่ตั้งหนังสือเล่มแรกของสำนักพิมพ์ Slang จีนสนุกจัง 1 ตั้งแต่ปี 2016  โดยบริจาคหนังสือทั้งรวมไปกว่า 400 เล่มแล้วนะ จุดประสงค์ของเราคือขอเชิญชวนแฟนเพจที่อยากเห็นเด็กไทยของเราเก่งภาษาจีนขึ้น ร่วมบริจาคหนังสือหรือเงินจัดพิมพ์หนังสือ ผ่านทางสำนักพิมพ์ Chinesebang เมื่อหนังสือปิดพรีออเดอร์ สำนักพิมพ์จะนำยอดรวมทั้งหมดมาพิมพ์หนังสือเป็นเล่มแล้วนำไปบริจาคให้ห้องสมุดต่อไปค่ะ

ซึ่งการบริจาคทุกครั้งของเรา เราไม่ได้ให้ใครก็ได้ ใครอยากได้ก็มาเอาไปได้ฟรีๆ เพราะพวกเราตระหนักดีว่านี่คือเงินที่แฟนเพจให้มาเพื่อ “บริจาคหนังสือ” ให้กับสถาบันการศึกษาที่เหมาะสมเท่านั้นค่ะ ดังนั้น สุ่ยหลินและทีมงานจะมีการติดต่อเพื่อไปสอบถาม คัดเลือกสถาบันการศึกษาด้วยตัวเอง เพื่อให้แน่ใจว่าหนังสือทุกเล่มของเราได้ถึงมือห้องสมุดจริงๆ และเป็นประโยชน์ในวงกว้างกับน้องๆ นักเรียน นักศึกษาด้วย ด้านล่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการศึกษาที่เราเคยบริจาคไปค่ะ

  • หลักสูตรภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาต่างประเทศ โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา จังหวัดสกลนคร
  • หลักสูตรภาษาจีน   โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง กรุงเทพฯ
  • วิชาภาษาต่างประเทศ โรงเรียนไกลกังวลในพระบรมราชูปภัมภ์ (หัวหิน) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์
  • โรงเรียนประสาทวิทยานนทบุรี
  • SIBA College วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ

สุ่ยหลินและสำนักพิมพ์ Chinesebang ต้องขอขอบคุณแฟนเพจทุกคนที่ได้ช่วยสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาของน้องๆ นักเรียน นักศึกษาด้วยนะคะ โครงการแบบนี้จะสำเร็จไม่ได้เลยถ้าไม่มีแฟนเพจสนับสนุนและเล่มนี้ก็เหมือนกันค่ะ “เล่าขานผ่านงิ้ว” เรามุ่งมั่นและยืดหยัดจะทำโครงการนี้เหมือนเดิม เพราะเราคิดว่ามัน “จำเป็น” ต่ออนาคตทางการศึกษาของเด็กไทยค่ะ แฟนเพจที่รักของสุ่ยหลินคะ ใครอยากร่วมทำบุญทางการศึกษากับเรา inbox มาได้เลยค่ะที่ m.me/ChineseBang

สุ่ยหลินและทีมงาน Chinesebang จะมุ่งมั่นพัฒนา content คุณภาพ สอนภาษาจีนเพื่อยกระดับความรู้ เพิ่มโอกาสในการเรียนภาษาจีนให้คนไทยต่อไปค่ะ

 

 

 

SHARE
Previous articleฉันสูงไม่เท่าเธอ 我不比你高。หรือ 我没有你高。ประโยคไหนถูก?
Next articleUpdate โครงการบริจาคหนังสือเข้าห้องสมุดของ ChineseBang 中文棒
สุ่ยหลิน เริ่มต้นจากการเป็นนักเขียนหนังสือภาษาจีน ตอนนี้มีผลงานหนังสือ 14 เล่มเป็นบก.หนังสืออีก 1 เล่ม คอร์สออนไลน์ Chinese Hack (ภาษาจีนเบื้องต้น) คอร์สออนไลน์ Pinyin และ คอร์สออนไลน์ HSK3 และ HSK4 ค่ะ เป้าหมายของสุ่ยหลินคือ ตั้งใจทำหนังสือ โพส คลิป Live และคอร์สออนไลน์สอนภาษาจีนที่เข้าใจง่าย สนุกไม่น่าเบื่อแต่ใช้งานได้จริงค่ะ นอกจากนี้ สุ่ยหลินยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์ภาษาจีน ChineseBang 中文棒 อีกด้วยค่ะ