HSK

Home HSK

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน: 常常 VS 往往 บ่อยๆ ที่แตกต่าง

常常 VS 往往

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ วันนี้สุ่ยหลินขอนำเสนอคำอีกคู่ที่แปลเหมือนกันเลย คำทั้งสองนี้ก็คือ 常常 และ 往往 ซึ่งทั้งคู่เป็นคำวิเศษณ์ (副词) ใช้วางหน้าคำกริยา เพื่อสื่อว่ากริยา การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นบ่อยๆ ได้ด้วยกันทั้งคู่ แต่ทำไมต้องมีตั้งสองคำ? มีไว้แล้วต่างกันยังไง??  งั้นเรามาดูความแตกต่างของ 常常 และ 往往  ในโพสนี้กับสุ่ยหลินค่ะ

คำถามที่ไม่ได้เป็นคำถาม? สุ่ยหลินพูดถึงอะไรใครรู้บ้าง?

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ คำว่า 谁 [shéi] ใคร, 什么 [shénme] อะไร, 哪儿 [nǎr] ที่ไหน, 怎么 [zěnme] ยังไง สรรพนามคำถามพวกนี้เราเรียนกันมาตั้งแต่เริ่มต้นเรียนภาษาจีนใหม่ๆ เลยใช่ไหมคะ เช่น 他是谁?[Tā shì shéi?] เขาเป็นใคร? 你要去哪儿? [Nǐ yào qù nǎr?] เธอจะไปที่ไหน? แต่ๆ ในภาษาจีนจะมีลักษณะการใช้อีกอย่างนึง คือเอาคำถามมาใช้ในประโยคที่ไม่ใช่คำถาม ฟังดูเหมือนจะยาก อะไรกันเอาคำถามมาใช้แต่ไม่ใช่คำถาม? แต่สุ่ยหลินบอกเลยว่าเรื่องนี้ไม่ยากนะ เพราะลักษณะการใช้งานแบบนี้ภาษาไทยเราก็มีค่ะ มาดูกันว่าสุ่ยหลินจะอธิบายยังไงในโพสนี้ค่ะ

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน: 变, 变成, 变得, 改变 และ 成为 “เปลี่ยน” “กลายเป็น”??

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน ภาษาจีนมีคำที่มีความหมายว่า “เปลี่ยน” กับ “กลายเป็น” อยู่มากมายหลายคำเลยค่ะ ในโพสนี้เรามารู้จักคำเหล่านี้และความแตกต่างในรายละเอียดกันค่ะ ป.ล. ความรู้โพสนี้รอยต่อ HSK 4 ต่อ 5 เลยนะจ๊ะ แต่ถึงจะยากแค่ไหนสุ่ยหลินจะอธิบายให้เข้าใจง่ายเองค่ะ มาติดตามกันได้เลย

搞笑,  好笑 และ 可笑 เรื่องตลกที่ตลกไม่ออก ถ้าไปโผล่ในข้อสอบ HSK

搞笑, 好笑 และ 可笑

ในภาษาจีนมีศัพท์ “ตลก” อยู่ 3 คำที่มีคำว่า 笑 [xiào] หัวเราะ เป็นส่วนประกอบอยู่ในนั้นเหมือนๆ กัน ได้แก่ 搞笑 [gǎoxiào], 好笑 [xiàohuà] และ 可笑 [kěxiào] ซึ่งทั้งสามคำนี้ภาษาไทยก็แปลเหมือนๆกันว่า “ตลก”  หรือ “น่าหัวเราะ” 

ถึงแม้ว่าทั้งสามคำจะแปลเป็นภาษาไทยคล้ายๆ กัน แต่สำหรับภาษาจีนแล้ว สามคำนี้ใช้อธิบายความ “ตลก” ที่ไม่เหมือนกันเลยค่ะ บางคำใช้การอธิบายบุคลิกลักษณะของ “คน” ที่ตลก บางคำใช้สำหรับอธิบาย “เรื่อง” ที่ทำให้ตลก บางคำกลับใช้ในความหมายว่าตลกไร้สาระ เป็นความหมายทางลบไปอีก

โอ้โห! แค่เรื่อง “ตลก” อะไรจะมีรายละเอียดขนาดนั้น ชักจะ “ตลก” ไม่ออกแล้ว

ไม่ต้องกลัวค่ะ  สุ่ยหลินจะอธิบายให้อ่านจบบทนี้พวกเราจะได้ตลกจริงๆ สักทีนะคะ

一会儿 VS 一点儿 VS 一下 เรื่อง “นิดหน่อย” ที่อาจทำให้เรางงมากมาย!!

一点儿-一下-一会儿

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ โพสนี้สุ่ยหลินขอตอบคำถามจากทางบ้านค่ะ กับคำถามที่ถามมาว่า 一会儿 และ  一下 ใช้ยังไง? เห็นบางทีตามหลังกริยาก็ใช้ 等一会儿 บ้างก็ใช้ 等一下 แล้วมันเหมือนกันมั๊ย?  สุ่ยหลินเพิ่มความงงด้วยอีกคำที่คล้ายกัน คือ 一点儿 เอาให้งงกันคูณสามกันไปเลย แต่อ่านจบแล้วความงงจะหายไปอย่างแน่นอน มาอ่านกันเลยนะคะ

冷 VS 凉 ต่างกันตรงไหน

พวกเราเหล่าผู้เรียนภาษาจีน ต่างก็น่าจะได้ยินคำว่า 冷 และ 凉 กันมาบ้างแล้ว ซึ่งทั้ง 2 คำเป็นคำคุณศัพท์ สื่อถึงอุณหภูมิต่ำด้วยกันทั้งคู่ โดยถ้าเราจะแปล 冷 ว่า “หนาว” และแปล 凉 ว่า “เย็น” ก็พอได้อยู่ค่ะ แต่ทั้ง 2 คำยังมีการใช้งานที่มากกว่านั้นอีก จะเป็นยังไงเรามาติดตามต่อกันเลยค่ะ

4 คำเชื่อม (连词) ที่เจอบ่อยสุดๆ HSK4 (ตอน 3)

连词 HSK4

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน ใครที่กำลังเตรียมตัวเพื่อไปสอบ HSK4 พลาดโพสนี้ไม่ได้เลยนะคะ เพราะปัญหาเรื่องคำเชื่อมถือเป็นปัญหาชวนปวดหัวอย่างยิ่งของพวกเราผู้เตรียมสอบ HSK4 ค่ะ

วันนี้สุ่ยหลินขอรวบรวมเอาคำเชื่อมที่เจอบ่อยสุดๆ ใน HSK4 มาสอนกัน 4 ชุดค่ะ รับประกันว่าใครไปสอบก็ต้องเจอชัวร์ๆ ติดตามกันเลยค่ะ

都  แปลว่า “ทั้งหมด”  แต่เป็นทั้งหมดที่ลึกกว่าเดิม เอ๊ะ? ยังไง?

都 แปลว่า “ทั้งหมด” แต่เป็นทั้งหมดที่ลึกกว่าเดิม เอ๊ะ? ยังไง?

พวกเราผู้เริ่มเรียนหลายคนเรียนคำว่า 都 [dōu] กันมาแล้วใช่ไหมคะ ก็แปลง่ายๆ ว่า “ทั้งหมด”  แต่ในโพสนี้สุ่ยหลินขอลงลึกในการใช้งาน 都 ที่มากกว่าเดิม ลองดู 2 ประโยคนี้เปรียบเทียบกันค่ะ มีข้อหนึ่งผิดและมีอีกข้อหนึ่งถูก อ่านแล้วลองคิดไว้ในเลยค่ะว่าข้อไหนผิดระหว่าง

1. 我都喜欢吃中国菜、日本菜和韩国菜。

Wǒ dōu xǐhuan chī Zhōngguó cài, Rìběn cài hé Hánguó cài.

2. 中国菜、日本菜、韩国菜,我都喜欢吃。

Zhōngguó cài, Rìběn cài hé Hánguó cài, wǒ dōu xǐhuan chī.

เฉลย

ข้อ 2 คือข้อที่ถูกต้องค่ะ แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกเราหลายคนจะเลือกข้อ 1 ใช่ไหมคะ สุ่ยหลินเองก็เป็น 1 ในนั้นเหมือนกัน มาดูกันว่าทำไมข้อ 1 จึงผิด ในโพส 都  แปลว่า “ทั้งหมด”  แต่เป็นทั้งหมดที่ลึกกว่าเดิมโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ

4 คำเชื่อมสันธาน (连词) ที่เจอบ่อยสุดๆ HSK4 ตอน 2

连词 HSK4

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน ^^ ใครยังจำกันได้สุ่ยหลินเคยเขียนโพสเรื่อง 4 คำเชื่อมสันธาน (连词) ที่เจอบ่อยสุดๆใน HSK4 ตอนแรกไปแล้วนะจ๊ะ สุ่ยหลินคิดว่ามีประโยชน์กับทั้งคนที่ต้องการสอบและไม่ต้องการ HSK นะ เพราะถึงแม้ว่าไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อไปสอบ แต่คำสันธานพวกนี้เป็นที่คนจีนใช้พูดสื่อสารกันบ่อยๆในชีวิตประจำวัน ซึ่งการใช้คำพวกนี้ให้ถูกจะช่วยให้ภาษาพูดของเราลื่นไหล ตรงเป้าหมาย และที่สำคัญคือพูดได้เหมือนเจ้าของภาษาจ๊ะ

สำหรับใครที่จะสอบ HSK4 เนี่ย ในข้อสอบจะมีอยู่ part นึงที่เค้าให้เรียงลำดับประโยคว่าประโยคไหนมาก่อน ประโยคไหนหลัง ซึ่งปัญหาที่เจอบ่อยคือศัพท์บางคำในนั้นเราอ่านไม่ออก (ถ้าอ่านออกก็จบ ทำได้ชัวร์ๆ) แต่พออ่านไม่ออกแล้วจะทำยังไงล่ะทีนี้  ณ.จุดนี้ คำสันธานช่วยได้จ๊ะ

มาติดตามสันธานที่เจอบ่อยสุด ออกสอบชัวร์ ในโพสนี้กับสุ่ยหลินกันค่ะ

要,会 และ 将 สารพัด “จะ” ในภาษาจีน จะใช้คำไหนดี??

要,会-และ-将-สารพัด-“จะ”-ในภาษาจีน
要,会-และ-将-สารพัด-“จะ”-ในภาษาจีน

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ ภาษาจีนมีคำว่า “จะ” เหมือนภาษาไทยเช่นกัน  เช่น เราสามารถพูดได้ว่า “จะไป” “จะกิน” “จะซื้อ” “จะแต่งงาน” และ “จะ” อะไรอีกเยอะแยะเลย ทั้งหมดเพื่อจะบอกว่ากริยาที่เราจะทำนี้ยังไม่เกิด แต่จะเกิดในอนาคตอันใกล้นี้ค่ะ

ซึ่งคำว่า“จะ” ในภาษาจีน มีตั้งหลายคำ หลายคนอาจนึกยังไม่ออกมีด้วยเหรอ?  ลองดูประโยคนี้ค่ะ

他明天去北京。
Tā míngtiān yào qù Běijīng.
พรุ่งนี้เขา “จะ” ไปปักกิ่ง

และนอกจาก 要 [yào] ในความหมายที่แปลว่า “จะ” แล้ว ภาษาจีนยังมี 会 [huì] และ 将 [jiāng] ที่แปลว่า “จะ” ได้อีกด้วย แล้วต่างกันตรงไหน? ต่างกันยังไง? ติดตามได้ในโพสเรื่อง “จะๆ” จะคำไหนดี ในโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ