การซ้ำคำในภาษาจีน (PAT 7.4 เฉพาะกิจ!!)

110666
SHARE

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ โพสนี้สุ่ยหลินถือว่าเป็นโพสเฉพาะกิจเพื่อน้องๆ ที่กำลังจะสอบ PAT7.4  สุ่ยหลินขอเลือกเอาหนึ่งในเรื่องชอบออกข้อสอบใน PAT7.4 มาเล่าให้ฟังนะจ๊ะ

เรื่องนั้นก็คือ “การซ้ำคำ” ในภาษาจีนค่ะ จะเป็นยังไงนั้น ติดตามได้เลยโดยด่วนจ้าา (เวลาสอบเห็นเรื่องนี้ปุ๊ปอย่าลืมคิดถึงพี่สุ่ยหลินนาจา อิ อิ)

สุ่ยหลินว่าพวกเราที่เรียนภาษาจีนเนี่ย ต้องผ่านตาการซ้ำคำในภาษาจีนกันมามั่ง อย่างเช่นประโยคพูดบ่อยๆเลยก็ต้อง 谢谢![xièxie]  ประโยคยาวอีกนิดก็อย่างเช่น 你看看。[Nǐ kànkan.] แบบมาซ้ำเป็นคู่ก็มีนะ 全家上上下下都很高兴。[Quánjiā shàngshàng xiàxià dōu hěn gāoxìng.] และที่สำคัญเรื่องนี้นอกจากจะออกสอบ HSK แล้ว ยังชอบไปโผล่ใน PAT 7.4 ด้วยนะ รีบตามมาอ่านด่วนเพราะได้สองเด้งเลยน้าาา

แต่ว่า…หลักเกณฑ์ในการซ้ำคำเนี่ยเป็นยังไงนะ? ทำไมบางทีซ้ำคำเดียว! บางทีซ้ำสองครั้ง! แล้วคำที่ซ้ำเนี่ยเพื่อประโยชน์อันใดกันล่ะ?? แปลว่าอะไรกันบ้างล่ะนี่??

ต้องเล่าก่อนว่าคำซ้ำในภาษาจีนแบ่งมีหลายประเภทโดยแบ่งเป็น คำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ฯลฯ ดังนั้นเราค่อยๆไล่กันไปทีละอย่างกันนะคะ

การซ้ำกันของคำนาม 名词重叠

การซ้ำกันของคำนามในภาษาจีนก็ง่ายมากๆ เลย แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ค่ะ

1. คำนามทั่วไปที่เป็น”ลักษณนาม” หรือ “คำนามแสดงเวลา” สามารถซ้ำคำได้

โดยมีรูปแบบคำซ้ำว่า “AA” แปลว่าเอาคำนั้นนั่นแหละมาเบิ้ลสองหนค่า ส่วนความหมายก็จะแปลว่า “ทั้งหมด, ทั้งปวง, ทุกๆ…” มาดูตัวอย่างกันเลยค่ะ

我们人人都喜欢他。
Wǒmen rénrén dōu xǐhuan tā.
พวกเราทุกคนชอบเค้าหมดเลย (เพราะเค้าหล่อ อิ อิ) (人人= ทุกคน)

天天都看电视 。
tiāntiān dōu kàn diànshì.
เค้าเนี่ยวันวันเอาแต่ดูทีวี (เสียงแม่ลอยมา) (天天 = ทุกวัน)

我们公司月月都发奖金。
Wǒmen gōngsī yuèyuè dōu fā jiǎngjīn.
บริษัทชั้นเนี่ยให้โบนัสทุกๆ เดือนเลย (โหหห…บริษัทไหนอ่ะ อิจฉาหนักมากกก) (月月 = ทุกเดือน)

2. คำนามแบบที่เป็นคำตรงกันข้ามมาเข้าคู่กัน

จะใช้รูปแบบคำซ้ำ “AABB” เช่นคำว่า 上下 (บน-ล่าง) 里外 (ใน-นอก) 山水 (ภูเขา-แม่น้ำ) วิธีซ้ำกันก็ง่ายกั๊บ แค่เอาแต่ละคำมาเบิ้ลสอง อย่างตัวอย่างข้างบนก็จะกลายเป็น 上上下下 กับ 里里外外 ส่วนความหมายก็จะแปลว่า “รวมทั้งหมด” ตัวอย่างมาจ้า

全家上上下下很高兴。
Quánjiā shàngshàng xiàxià dōu hěn gāoxìng.
ครอบครัวทั้งหมด (ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่) ต่างก็มีความสุขมว๊ากก

全场很热闹,里里外外是人。
Quán chǎng hěn rènào, lǐ wàiwài dōu shì rén.]
ทั้งสนามคึกคักสุดอ่ะ ทุกที่ (ทั้งข้างในและข้างนอก) มีแต่คนๆๆ

จะสังเกตอย่างนึงว่าเวลาเราใช้คำซ้ำในประโยค มักใช้คำว่า มาประกอบด้วยเสมอๆ นะคะเพื่อให้ดีกรีเจ้มจ้นขึ้นครัชชช

การซ้ำกันของคำกริยา 动词重叠

ตอนนี้เราว่ากันด้วยการซ้ำคำกริยา ซึ่งมีหลายกรณีมากๆ เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันนะคะว่าเค้าซ้ำกันยังไง แต่ก่อนอื่นเรามาดูจุดประสงค์ในการซ้ำคำกริยาก่อนนะคะว่าทำเพื่ออะไร? และประโยชน์อยู่หนใด??

คือประโยชน์มันต้องมีสิจ๊ะ ไม่งั้นเราจะซ้ำให้พูดให้ยาวขึ้นทำไมล่ะ คืองี้นะจ๊ะ
มันจะทำให้คำพูดดูเป็นกันเองมากขึ้น ดูซอฟท์ลง รีแล็กซ์ ผ่อนคลาย ทำให้การพูดก็ดูมีจังหวะจะโคน น่าฟังอีกด้วยนะ
– อีกอย่างนึงคือแสดงให้เห็นว่ากริยาที่เราซ้ำนั้น เกิดในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่นาน เช่น 大家先尝尝。Dàjiā xiān chángchang. ทุกคนลองชิมหน่อยนะ คือ ชิมนิดเดียวไม่นาน แบบว่าไม่ใช่ตั้งโต๊ะกินจริงจังเอาอิ่ม ทำนองนี้ค่ะ

การซ้ำคำกริยาแบ่งได้ 6 กรณี ดังนี้นะจ๊ะ

1. กริยาพยางค์เดี่ยว

ก็แบ่งได้อีก 2 แบบค่า

a. เหตุการณ์ยังไม่เกิด ซ้ำแบบ “AA” หรือ “AA” เช่น เราจะบอกว่า “ให้ทุกคนลองชิมดู” พูดได้แบบนี้ค่ะ เช่น

大家先尝尝
Dàjiā xiān chángchang.

หรือ 大家
Dàjiā cháng yi cháng.

b. เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว เราจะซ้ำแบบ “AA”  หรือ “A了一A” เช่น เราจะบอกว่า “เค้าชิมแล้วบอกว่าอร่อยแฮะ” พูดได้แบบนี้ค่า

尝了尝说, 好吃!
Tā chángle cháng shuō, hǎochī!

หรือ 了一说, 好吃!
Tā chángle yi cháng shuō, hǎochī!

2. กริยาพยางค์คู่

ก็แบ่งได้ 2 แบบเหมือนกันนะ แบบนี้

a. เหตุการณ์ยังไม่เกิด ซ้ำแบบ “ABAB” เช่น เราบอกว่า “เธอไปพักก่อนเหอะ” ก็พูดได้ว่า

你先吧。
Nǐ xiān xiūxi xiūxi ba.

หรือบอกว่า “เธอแนะนำเค้าหน่อยนะ”
请你给他
Qǐng nǐ gěi tā jièshào jièshao.

b. เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว ก็จะซ้ำแบบ “ABAB” เช่น “เรื่องเนี้ย เค้าลองไปศึกษามาแล้ว” พูดได้ว่า

这件事,他已经
Zhè jiàn shì, tā yǐjīng yánjiūle yánjiu.

3. กริยา 离合词

(ใครยังไม่รู้จักกริยาประเภทนี้คลิ๊ก 离合词) ก็แบ่งได้อีก 2 แบบเหมือนกัล

a. เหตุการณ์ยังไม่เกิด จะซ้ำแบบ “AAB” เช่นเราอยากพูดว่า “พวกเราไปเจอเค้าหน่อยมั๊ย” พูดได้ว่า
我们去和她见见吧。
Wǒmen qù hé tā jiànjian miàn ba.

b. เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว ก็จะซ้ำแบบ “AAB” เช่นจะบอกว่า “พวกเราไปคุยกะเค้ามาเมื่อวานนี้” พูดได้ว่า
昨天我们去和她
Zuótiān wǒmen qù hé tā liáo le liáotiān.

4. กริยาที่เป็นพยางค์เดียว ที่มีความหมายตรงข้ามกัน หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

มีการซ้ำอีกประเภทนึงค่ะ คือเป็นการซ้ำคำของคู่กริยาที่มีพยางค์เดียวที่มีความหมายตรงข้ามกัน หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นรูปแบบ V1V1V2V2  (V1 คือกริยาคำแรก และ V2 คือกริยาคำที่สอง) เช่น
蹦蹦跳跳 bèngbèng tiàotiào กระโดดโลดเต้น
来来往往 láilái wǎngwǎng  มามาไปไป
说说笑笑 shuōshuō xiàoxiào พูดไปยิ้มไป

ซึ่งจะเห็นการใช้ลักษณะนี้เพื่อบรรยายลักษณะของกริยา(กลายเป็นเหมือนคำวิเศษณ์)หรือบรรยายลักษณะของคำนาม(กลายเป็นเหมือนคำคุณศัพท์) เช่น

在便利店里,总有来来往往的人买东西。
Zài biànlìdiàn lǐ, zǒng yǒu láilái wǎngwǎng de rén mǎi dōngxī.
ในร้านสะดวกซื้อมีคนมามาไปไปซื้อของอยู่เสมอ – บรรยายลักษณะของคำนาม 来来往往的人

他们两个人说说笑笑地走进了教室。
Tāmen liǎng gè rén shuōshuō xiàoxiào de zǒu jìnle jiàoshì.
พวกเขาทั้งสองเดินพูดไปยิ้มไปเข้าห้องเรียนไปแล้ว – บรรยายลักษณะของกริยา 说说笑笑地走

5. V来V去 ทำกริยานั้นซ้ำไปซ้ำมา หรือมีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมา

เป็นการซ้ำคำโดยใช้ 趋向补语 [qūxiàng bǔyǔ] = บทเสริมกริยาบอกทิศทาง ก็คือ 来 และ 去 มาต่อท้ายคำกริยาเป็นโครงสร้าง VV  เป็นการบอกว่าทำกริยานั้นซ้ำไปซ้ำมา หรือมีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาค่ะ ซึ่งลักษณะตรงนี้เหมือนกับภาษาไทยเราเลย เช่น

[zǒu lái zǒu qù] เดินมาเดินไป
[fēi lái fēi qù] บินมาบินไป

想出来一个好办法。
Wǒ xiǎng lái xiǎng qù xiǎng chūlai yīgè hǎo bànfǎ.
ฉันคิดมาคิดไป คิดวิธีการดีๆออกได้อย่างนึง

**จริงๆแล้วการใช้ลักษณะนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นซ้ำกริยาตัวเดียวกันเสมอไป จะเป็นกริยาที่เข้าคู่กันและสามารถเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันได้ค่ะ เช่น

我们在上课,你怎么老是的。
Wǒmen zài shàngkè, nǐ zěnme lǎoshì chūlái jìnqù de.
พวกเราเรียนอยู่ ทำไมเธอเข้าๆออกๆบ่อยนักล่ะ

ทุกอย่างในโลกล้วนมีข้อยกเว้น การซ้ำคำกริยาก็เช่นกันค่ะ เพราะไม่ใช่ว่าเราจะเอากริยาทุกตัวมาเบิ้ลได้นะคะ เพราะจุดประสงค์ของการซ้ำกริยาอย่างที่สุ่ยหลินบอกไปแล้ว คือนอกจากจะทำให้คำพูดดูซอฟท์ลง รีแล็กซ์ ผ่อนคลาย สำคัญมันอยู่การซ้ำคำกริยานั้นเพื่อบอกว่ากริยานั้นเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่นาน ด้วยเหตุนี้กริยาบางอย่างเลยอดได้สิทธิ์ในการซ้ำคำค่ะ มีอะไรบ้างนะ?

คิดง่ายๆไม่ต้องจำเยอะ ก็คือ กริยาที่ไม่จำเป็นหรือไม่สามารถบอกว่ามันเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆนั่นเองค่ะ

1. กริยาที่ตัวมันเกิดขึ้นแป๊บๆอยู่แล้ว (ไม่ต้องซ้ำกริยา เพราะเกิดขึ้นไม่นานอยู่แล้ว) ส่วนมากจะเป็นพวกกริยาที่บอกถึงการเปลี่ยนแปลง
生 เกิด,死 ตาย,开始 เริ่มต้น,发展 พัฒนา,结束 จบ

2. กริยาที่ตัวมันต้องเกิดขึ้นนานๆ จะมาแป๊บๆไม่ได้ (ซ้ำกริยาไม่ได้ เพราะมันใช้เวลานาน) ส่วนมากจะเป็นพวกกริยาที่เกี่ยวกับจิตใจ หรือกริยาที่แสดงการคงอยู่นั่นเองค่ะ
怕 กลัว,喜欢 ชอบ,爱 รัก,讨厌 เกลียด
是 เป็น,在 อยู่,有 มี

3. กริยาที่บอกทิศทาง
起 ลุก,过 ผ่าน,出 ออก,进 เข้า

การซ้ำคำคุณศัพท์ 形容词重叠

มาต่อกันเรื่องคำซ้ำคุณศัพท์ ง่ายๆ เลย การซ้ำคำคุณศัพท์แบ่งได้แบบเนี้ย

1. คุณศัพท์พยางค์เดียว

ก็จะซ้ำง่ายๆ แบบ AA ค่า เป็นโครงสร้าง AA + (的) + (Noun)
อันนี้เหมือนภาษาไทยนะ มีซ้ำแบบนี้เหมือนกัน จัดตัวอย่างมาด่วน

你的脸红红的。
Nǐ de liǎn hónghong de.
หน้าเธอแดงๆ นะ

高高的。
Tā gāogao de.
เค้าคนที่สูงๆ หน่อยอ่ะ

2. คุณศัพท์ 2 พยางค์

ก็ซ้ำแบบ AABB นะคะ เป็นโครงสร้าง AABB + (的) + (Noun)
ABAABB
干干净净 [gānjìng → gāngan jìngjìng]
清清楚楚 [qīngchu → qīngqing chǔchǔ]

ตัวอย่างมาจ้า
这套房间干干净净的。
Zhè tàofáng jiān gāngan jìngjìng de.
ห้องชุดห้องเนี้ยสะอาดดีจัง

** สำคัญ แต่ก็ไม่ใช่คำคุณศัพท์ทุกตัวจะซ้ำแบบ AABB นะคะ มีบางตัวที่แหกกฎเหมือนกัน อันนี้อาจต้องจำเอาอ่ะนะ เช่น
好看 จะซ้ำเป็น 好看好看 (น่าดู)
好吃   จะซ้ำเป็น  好吃好吃 (น่ากิน)
麻烦   จะซ้ำเป็น  麻烦麻烦 (รบกวน, ทำให้ลำบาก)

3. คุณศัพท์ (adjective) + 地 จะทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ (adverb) ขยายกริยา

ถ้าจะซ้ำคำจะซ้ำแบบ AABB ใช้โครงสร้างนี้ค่า AABB + 地 + Verb

ตัวอย่างเช่น
今天我老公高高兴兴地来家了。
Jīntiān wǒ lǎogōng gāogao xìngxìng lái jiā le.
วันนี้ผัวชั้นกลับมาบ้านอย่างดีใจ -ขยายลักษณะของกริยา 来 ว่าเป็นแบบ 高高兴兴

清清楚楚地看到他跟一个胖胖的男人上车了。
[Wǒ qīngqing chǔchǔ de kàndào tā gēn yīgè pàngpàng de nánrén shàngchē le]
ชั้นเห็นชัดๆ เลยว่าเค้าขึ้นรถไปกับผู้ชายอ้วนๆ คนนึง (โชคดีไม่ช่ายผู้หญิง ไม่งั้นมีเรื่อง!) -ขยายลักษณะของกริยา 看 ว่าเป็นแบบ 清清楚楚

4. หากว่าคำคุณศัพท์ในประโยคนั้นทำหน้าที่เป็นภาคแสดง (พูดง่ายๆ คือทำหน้าที่เหมือนเป็นกริยาของประโยค) ก็ให้ซ้ำเหมือนคำกริยาค่ะ คือใช้รูปแบบ ABAB

ซึ่งอันนี้สุ่ยหลินบอกก่อนว่าอาจจะยากหน่อยนึงเพราะเราต้องรู้และแยกออกก่อนค่ะว่าภาคแสดงคืออะไร ซึ่งภาคแสดงของภาษาจีนเนี่ยไม่จำเป็นต้องเป็นกริยาเสมอไปค่ะ ในที่นี้การซ้ำคำคุณศัพท์ที่ว่าจะสื่อความหมายว่าประธานมีลักษณะอาการเป็นยังไงในตอนนั้น

เช่นประโยค 我喝了酒,[Wǒ hēle jiǔ, gāoxìng gāoxìng.] จะแบ่งได้สองประโยคคือ 我喝了酒。และ 我高兴高兴。

เราจึงซ้ำ 高兴 แบบ ABAB ในประโยคนี้เพราะ 高兴 ทำหน้าที่เป็นภาคแสดง แสดงอาการของ 我 นั่นเองค่า ในขณะที่ตัวอย่างของข้อ 3 ข้างบน (今天我老公高高兴兴地来家了。Jīntiān wǒ lǎogōng gāogao xìngxìng lái jiā le.) ซ้ำแบบ AABB เพราะอยู่บนเงื่อนไข คำคุณศัพท์ + 地 ที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์นั่นเองจ๊ะ ไม่งงนะ

มาดูตัวอย่างอื่นกันนะ
到这里来,
Dào zhèlǐ lái, liángkuai liángkuai.
พอมาถึงตรงนี้ ก็เย็นขึ้นมาเลยนะ

你能让我吗?
Nǐ néng ràng wǒ ānjìng ānjìng ma?
เธอให้ฉันมีความสงบหน่อยได้มั๊ย?

สังเกตว่ารูปแบบซ้ำแบบนี้มักไว้ท้ายประโยคนะจ๊ะ

จริงๆแล้วเราอาจเจอการซ้ำคำคุณศัพท์ในรูปแบบอื่นๆด้วยนะคะเช่น XAA อย่าง 冷冷[bīnglěngleng] หนาวยังกะน้ำแข็ง หรือ AAB เช่น [húlihútú] งงในงง แต่ที่สุ่ยหลินพูดถึงข้างบนนี่คือที่เราเจอบ่อยๆค่ะ เอาไว้เราใช้คล่องๆแล้วก็ค่อยมาเรียนรู้รูปแบบอื่นๆกันนะจ๊ะ

เอาล่ะค่ะถึงตรงนี้ มินิกาพย์คำซ้ำในภาษาจีนได้จบลงแล้ว (ยังไม่ถึงขึ้นมหากาพย์ เพราะอันนี้มาแบบย่อๆ นะ แหะๆ)

ขอให้น้องๆ ทุกคนสอบได้คะแนนเกิน 200 นะจ๊ะ พี่สุ่ยหลินเอาใจช่วยเสมอค่ะ

สุ่ยหลิน^^