HSK

Home HSK

那个 ที่เป็นมากกว่า “สิ่งนั้น” “อันนั้น”

alternate use of 那个

สวัสดีค่าา พวกเราห่างหายจากโพสไวยากรณ์มานาน งั้นเรากลับมาเริ่มเรียนกันหน่อยนะคะ โพสนี้มาอุ่นเครื่องเริ่มต้นกับแบบเบาๆ แต่เนื้อหานั้นน่าสนใจมาก กับคำว่า 那个 ที่เป็นมากกว่า “สิ่งนั้น” “อันนั้น” กันค่ะ

คำเชื่อมฆ่าไม่ตาย ใช้บ่อยสุดๆ กับ 不但……而且/也/还…… เรียนเถอะ รับรองได้ใช้ชัวร์ๆ

不但...而且...
不但...而且...

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน  เรื่องของคำเชื่อมเราเรียนกันมานักต่อนักแล้วใช่ไหมคะ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงคำเชื่อมแบบ 不但  ที่มักมาเข้าคู่กับ 而且 ที่แปลว่า “ไม่เพียงแต่……แต่ยัง”

คำเชื่อมแบบนี้เจอในชีวิตประจำวันบ่อยมากๆ แถมออกสอบเป็นประจำ แต่นี้ในโพสนี้สุ่ยหลินขอเพิ่มวิธีการการใช้เข้าไปอีกนิดนั่นก็คือ 不但……而且/也/还…. จะแปลยังไง?ติดตามได้ในโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ

要,会 และ 将 สารพัด “จะ” ในภาษาจีน จะใช้คำไหนดี??

要,会-และ-将-สารพัด-“จะ”-ในภาษาจีน
要,会-และ-将-สารพัด-“จะ”-ในภาษาจีน

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ ภาษาจีนมีคำว่า “จะ” เหมือนภาษาไทยเช่นกัน  เช่น เราสามารถพูดได้ว่า “จะไป” “จะกิน” “จะซื้อ” “จะแต่งงาน” และ “จะ” อะไรอีกเยอะแยะเลย ทั้งหมดเพื่อจะบอกว่ากริยาที่เราจะทำนี้ยังไม่เกิด แต่จะเกิดในอนาคตอันใกล้นี้ค่ะ

ซึ่งคำว่า“จะ” ในภาษาจีน มีตั้งหลายคำ หลายคนอาจนึกยังไม่ออกมีด้วยเหรอ?  ลองดูประโยคนี้ค่ะ

他明天去北京。
Tā míngtiān yào qù Běijīng.
พรุ่งนี้เขา “จะ” ไปปักกิ่ง

และนอกจาก 要 [yào] ในความหมายที่แปลว่า “จะ” แล้ว ภาษาจีนยังมี 会 [huì] และ 将 [jiāng] ที่แปลว่า “จะ” ได้อีกด้วย แล้วต่างกันตรงไหน? ต่างกันยังไง? ติดตามได้ในโพสเรื่อง “จะๆ” จะคำไหนดี ในโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน: 正 , 在 และ 正在 present continuous กลายๆ ของภาษาจีน

正 在 และ 正在
正 在 และ 正在

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^  ห่างหายจากโพสซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือนมานานแล้วนะคะ ได้เวลากลับมาอ่านไวยากรณ์ง่ายๆ สไตล์สุ่ยหลินกันแล้วค่ะ สุ่ยหลินเขียนเรื่องคำเหมือนนี้หลายตอนเลย จนรวบรวมเป็นหนังสือเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้หนังสือหมดแต่สามารถหาซื้อแบบ ebook ได้ที่ลิงค์นี้เลยค่ะ http://bit.ly/2I6fRcR

แต่โพสวันนี้ก็เป็นโพสใหม่ของซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือนค่ะ สุ่ยหลินขอนำเสนอคำง่ายๆ ที่เจอกันบ่อยในชีวิตประจำวัน นั่นก็คือคำว่า 正 [zhèng] , 在 [zài] และ 正在 [zhèngzài] ทั้งหมดเมื่อเป็นคำวิเศษณ์ สามารถวางไว้หน้าคำกริยาเพื่อสื่อความหมายว่า กริยาหรือเหตุการณ์ “กำลัง” เกิดขึ้นหรือดำเนินอยู่ พูดง่ายๆ ว่าแปลโคตรจะเหมือนกัน นอกจากนี้ อาจจะพูดได้อีกอย่างว่าเป็นตัวบอก tense (present continuous) กลายๆ ของภาษาจีนด้วยนะคะ และเหมือนเคยทำไมต้องมีตั้ง 3 คำ มี 3 คำไปเพื่ออะไร? ติดตามได้ในโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ

สรรพนามคำถาม 什么 ที่ไม่ใช่คำถาม? มีด้วยเหรอ?

เมื่อ-什么-ไม่ได้เป็นคำถาม

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ พวกเราหลายคนน่าจะเคยเรียน 什么 [shénme] ที่เป็นหนึ่งใน สรรพนามคำถาม ในภาษาจีนกันมาแล้วนะคะ คำนี้แปลว่า “อะไร” อย่างเช่น ปัญหาโลกแตกของคนมีแฟนทุกคู่คือ 今天吃什么? [Jīntiān chī shénme?] วันนี้จะกินอะไร? คำตอบคืออะไรก็ได้ แต่สั่งอะไรมาหรือทำอะไรมาไม่ชอบกินสักอย่าง หรือพอไปกินร้านเดิมก็บอกว่าเบื่อ กินบ่อยแล้ว ก็กลับมาคำถามเดิมอีกล่ะ 今天吃什么?วันนี้จะกินอะไร? ฮ่วย!

ก่อนที่เราจะออกทะเลไปไกลค่ะ อิ อิ สุ่ยหลินกำลังจะบอกว่าคำว่า 什么 ส่วนใหญ่ที่เราเจอคือเป็นประโยคคำถาม  แต่วันนี้สุ่ยหลินจะนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งของการเรียน 什么 ที่ไม่ได้เป็นคำถาม!

มีด้วยเหรอ ?

มีค่ะ ติดตามเรื่องของ 什么 ที่ไม่ใช่คำถาม? ได้ในโพสนี้กับสุ่ยหลินเลยค่ะ

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน: 内 กับ 里 ภายในที่แตกต่าง?

内-VS-里

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ เห็นหัวเรื่องซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือนแบบนี้สุ่ยหลินเชื่อว่าแฟนเพจที่ติดตามอ่านโพสไวยากรณ์ของสุ่ยหลินต้องเดาได้แน่นอน ว่าคราวนี้สุ่ยหลินมาพร้อมกับคำเหมือนในภาษาจีนอีกแล้วค่ะ

คำเหมือนในภาษาจีนถือว่าเป็นยาขมสำหรับผู้เรียนภาษาจีนอย่างเราๆ นะคะ เพราะบ่อยมากๆ ที่ภาษาไทยเราใช้คำเดียวแต่ภาษาจีนมีหลายคำ! บางทีมี 2 คำบ้าง 3 คำบ้าง และคราวนี้สุ่ยหลินมาพร้อมกับคู่เหมือนอีกครั้งค่ะ ได้แก่คำว่า 内  และ 里 ที่ความหมายเมื่อแปลเป็นไทยเหมือนกันเป๊ะๆ คือแปลว่า “ภายใน” หรือ “ข้างใน”

ถ้าเหมือนกันซะขนาดนี้ ใช้แทนกันได้เลยหรือเปล่า? แล้วถ้าไม่ใช่ เราจะแยกออกได้ยังไงว่าเมื่อไหร่จะใช้  内 หรือ 里 ดีล่ะ?

ติดตามเรื่อง 内 กับ 里 ภายในที่แตกต่าง? ได้ในโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ

คำถามที่ไม่ได้เป็นคำถาม? สุ่ยหลินพูดถึงอะไรใครรู้บ้าง?

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ คำว่า 谁 [shéi] ใคร, 什么 [shénme] อะไร, 哪儿 [nǎr] ที่ไหน, 怎么 [zěnme] ยังไง สรรพนามคำถามพวกนี้เราเรียนกันมาตั้งแต่เริ่มต้นเรียนภาษาจีนใหม่ๆ เลยใช่ไหมคะ เช่น 他是谁?[Tā shì shéi?] เขาเป็นใคร? 你要去哪儿? [Nǐ yào qù nǎr?] เธอจะไปที่ไหน? แต่ๆ ในภาษาจีนจะมีลักษณะการใช้อีกอย่างนึง คือเอาคำถามมาใช้ในประโยคที่ไม่ใช่คำถาม ฟังดูเหมือนจะยาก อะไรกันเอาคำถามมาใช้แต่ไม่ใช่คำถาม? แต่สุ่ยหลินบอกเลยว่าเรื่องนี้ไม่ยากนะ เพราะลักษณะการใช้งานแบบนี้ภาษาไทยเราก็มีค่ะ มาดูกันว่าสุ่ยหลินจะอธิบายยังไงในโพสนี้ค่ะ

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน: 一边….一边…. กับ 一面….一面…. พร้อมๆ กัน แล้วต่างกันยังไง?

一边….一边….-และ-一面….一面…..

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ แฟนเพจผู้เริ่มต้นของสุ่ยหลินคงเคยได้เรียนคำว่า 一边….一边…. กันมาในหนังสือเรียนภาษาจีนเล่มแรกๆ ใช่ไหมเอ่ย เช่นประโยคที่ว่า 我一边看电视,一边吃饭。[Wǒ yībiān kàn diànshì, yībiān chīfàn.] ฉันดูทีวีไปด้วยกินข้าวไปด้วย (สุ่ยหลินชอบทำประจำ) แต่ที่นี้พอเราเรียนมาสักพักก็เกิดภาษาจีนงอกออกมาอีกคำคือคำว่า 一面….一面…. แปลแบบเดียวกันว่า พร้อมๆ กันหรือทำไปในเวลาเดียวกัน คำถามคืองอกมาทำอะไร? ความแตกต่างคืออะไร? ทำไมต้องมี 2 คำ ติดตามไวยากรณ์ง่ายๆ สไตล์สุ่ยหลินในโพสนี้ได้เลยค่ะ

倒 [dào] เรื่องมันผกผัน เรื่องมันดราม่า?

倒

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ หลายคนที่เป็นผู้เริ่มเรียนอาจจะงงเรื่องคำหลายเสียงในภาษาจีน 多音词 [duōyīncí] ว่าทำไมเขียนเหมือนกันแท้ๆ แต่บางทีอ่านได้แบบหนึ่ง บางทีก็อ่านอีกแบบหนึ่ง ตกลงมันเป็นยังไงกันแน่? โพสนี้ของสุ่ยหลินก็หยิบเอาคำหลายเสียงตัวหนึ่งในภาษาจีนที่เจอบ่อยที่สุดมาเล่าให้แฟนเพจฟังค่ะ เรื่องราวจะเป็นยังไง ติดตามวิธีอธิบายไวยากรณ์ง่ายๆ สไตล์สุ่ยหลินได้ในโพสนี้เลยค่ะ

倒 เป็นคำหลายเสียงหรือ 多音字 อย่างที่บอก แถมยังเป็นได้ทั้งคำกริยา (动词) และคำวิเศษณ์ (副词) อีกด้วย แต่ในโพสนี้เราจะมาเจาะลึกกับ 倒  ที่เป็นคำวิเศษณ์ รวมไปถึงลักษณะการใช้ทางไวยากรณ์กันนะ

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน: 常常 VS 往往 บ่อยๆ ที่แตกต่าง

常常 VS 往往

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ วันนี้สุ่ยหลินขอนำเสนอคำอีกคู่ที่แปลเหมือนกันเลย คำทั้งสองนี้ก็คือ 常常 และ 往往 ซึ่งทั้งคู่เป็นคำวิเศษณ์ (副词) ใช้วางหน้าคำกริยา เพื่อสื่อว่ากริยา การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นบ่อยๆ ได้ด้วยกันทั้งคู่ แต่ทำไมต้องมีตั้งสองคำ? มีไว้แล้วต่างกันยังไง??  งั้นเรามาดูความแตกต่างของ 常常 และ 往往  ในโพสนี้กับสุ่ยหลินค่ะ