HSK

Home HSK

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน: 正 , 在 และ 正在 present continuous กลายๆ ของภาษาจีน

正 在 และ 正在
正 在 และ 正在

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^  ห่างหายจากโพสซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือนมานานแล้วนะคะ ได้เวลากลับมาอ่านไวยากรณ์ง่ายๆ สไตล์สุ่ยหลินกันแล้วค่ะ สุ่ยหลินเขียนเรื่องคำเหมือนนี้หลายตอนเลย จนรวบรวมเป็นหนังสือเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้หนังสือหมดแต่สามารถหาซื้อแบบ ebook ได้ที่ลิงค์นี้เลยค่ะ http://bit.ly/2I6fRcR

แต่โพสวันนี้ก็เป็นโพสใหม่ของซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือนค่ะ สุ่ยหลินขอนำเสนอคำง่ายๆ ที่เจอกันบ่อยในชีวิตประจำวัน นั่นก็คือคำว่า 正 [zhèng] , 在 [zài] และ 正在 [zhèngzài] ทั้งหมดเมื่อเป็นคำวิเศษณ์ สามารถวางไว้หน้าคำกริยาเพื่อสื่อความหมายว่า กริยาหรือเหตุการณ์ “กำลัง” เกิดขึ้นหรือดำเนินอยู่ พูดง่ายๆ ว่าแปลโคตรจะเหมือนกัน นอกจากนี้ อาจจะพูดได้อีกอย่างว่าเป็นตัวบอก tense (present continuous) กลายๆ ของภาษาจีนด้วยนะคะ และเหมือนเคยทำไมต้องมีตั้ง 3 คำ มี 3 คำไปเพื่ออะไร? ติดตามได้ในโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ

สรรพนามคำถาม 什么 ที่ไม่ใช่คำถาม? มีด้วยเหรอ?

เมื่อ-什么-ไม่ได้เป็นคำถาม

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ พวกเราหลายคนน่าจะเคยเรียน 什么 [shénme] ที่เป็นหนึ่งใน สรรพนามคำถาม ในภาษาจีนกันมาแล้วนะคะ คำนี้แปลว่า “อะไร” อย่างเช่น ปัญหาโลกแตกของคนมีแฟนทุกคู่คือ 今天吃什么? [Jīntiān chī shénme?] วันนี้จะกินอะไร? คำตอบคืออะไรก็ได้ แต่สั่งอะไรมาหรือทำอะไรมาไม่ชอบกินสักอย่าง หรือพอไปกินร้านเดิมก็บอกว่าเบื่อ กินบ่อยแล้ว ก็กลับมาคำถามเดิมอีกล่ะ 今天吃什么?วันนี้จะกินอะไร? ฮ่วย!

ก่อนที่เราจะออกทะเลไปไกลค่ะ อิ อิ สุ่ยหลินกำลังจะบอกว่าคำว่า 什么 ส่วนใหญ่ที่เราเจอคือเป็นประโยคคำถาม  แต่วันนี้สุ่ยหลินจะนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งของการเรียน 什么 ที่ไม่ได้เป็นคำถาม!

มีด้วยเหรอ ?

มีค่ะ ติดตามเรื่องของ 什么 ที่ไม่ใช่คำถาม? ได้ในโพสนี้กับสุ่ยหลินเลยค่ะ

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน: 内 กับ 里 ภายในที่แตกต่าง?

内-VS-里

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ เห็นหัวเรื่องซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือนแบบนี้สุ่ยหลินเชื่อว่าแฟนเพจที่ติดตามอ่านโพสไวยากรณ์ของสุ่ยหลินต้องเดาได้แน่นอน ว่าคราวนี้สุ่ยหลินมาพร้อมกับคำเหมือนในภาษาจีนอีกแล้วค่ะ

คำเหมือนในภาษาจีนถือว่าเป็นยาขมสำหรับผู้เรียนภาษาจีนอย่างเราๆ นะคะ เพราะบ่อยมากๆ ที่ภาษาไทยเราใช้คำเดียวแต่ภาษาจีนมีหลายคำ! บางทีมี 2 คำบ้าง 3 คำบ้าง และคราวนี้สุ่ยหลินมาพร้อมกับคู่เหมือนอีกครั้งค่ะ ได้แก่คำว่า 内  และ 里 ที่ความหมายเมื่อแปลเป็นไทยเหมือนกันเป๊ะๆ คือแปลว่า “ภายใน” หรือ “ข้างใน”

ถ้าเหมือนกันซะขนาดนี้ ใช้แทนกันได้เลยหรือเปล่า? แล้วถ้าไม่ใช่ เราจะแยกออกได้ยังไงว่าเมื่อไหร่จะใช้  内 หรือ 里 ดีล่ะ?

ติดตามเรื่อง 内 กับ 里 ภายในที่แตกต่าง? ได้ในโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ

คำถามที่ไม่ได้เป็นคำถาม? สุ่ยหลินพูดถึงอะไรใครรู้บ้าง?

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ คำว่า 谁 [shéi] ใคร, 什么 [shénme] อะไร, 哪儿 [nǎr] ที่ไหน, 怎么 [zěnme] ยังไง สรรพนามคำถามพวกนี้เราเรียนกันมาตั้งแต่เริ่มต้นเรียนภาษาจีนใหม่ๆ เลยใช่ไหมคะ เช่น 他是谁?[Tā shì shéi?] เขาเป็นใคร? 你要去哪儿? [Nǐ yào qù nǎr?] เธอจะไปที่ไหน? แต่ๆ ในภาษาจีนจะมีลักษณะการใช้อีกอย่างนึง คือเอาคำถามมาใช้ในประโยคที่ไม่ใช่คำถาม ฟังดูเหมือนจะยาก อะไรกันเอาคำถามมาใช้แต่ไม่ใช่คำถาม? แต่สุ่ยหลินบอกเลยว่าเรื่องนี้ไม่ยากนะ เพราะลักษณะการใช้งานแบบนี้ภาษาไทยเราก็มีค่ะ มาดูกันว่าสุ่ยหลินจะอธิบายยังไงในโพสนี้ค่ะ

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน: 一边….一边…. กับ 一面….一面…. พร้อมๆ กัน แล้วต่างกันยังไง?

一边….一边….-และ-一面….一面…..

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ แฟนเพจผู้เริ่มต้นของสุ่ยหลินคงเคยได้เรียนคำว่า 一边….一边…. กันมาในหนังสือเรียนภาษาจีนเล่มแรกๆ ใช่ไหมเอ่ย เช่นประโยคที่ว่า 我一边看电视,一边吃饭。[Wǒ yībiān kàn diànshì, yībiān chīfàn.] ฉันดูทีวีไปด้วยกินข้าวไปด้วย (สุ่ยหลินชอบทำประจำ) แต่ที่นี้พอเราเรียนมาสักพักก็เกิดภาษาจีนงอกออกมาอีกคำคือคำว่า 一面….一面…. แปลแบบเดียวกันว่า พร้อมๆ กันหรือทำไปในเวลาเดียวกัน คำถามคืองอกมาทำอะไร? ความแตกต่างคืออะไร? ทำไมต้องมี 2 คำ ติดตามไวยากรณ์ง่ายๆ สไตล์สุ่ยหลินในโพสนี้ได้เลยค่ะ

倒 [dào] เรื่องมันผกผัน เรื่องมันดราม่า?

倒

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ หลายคนที่เป็นผู้เริ่มเรียนอาจจะงงเรื่องคำหลายเสียงในภาษาจีน 多音词 [duōyīncí] ว่าทำไมเขียนเหมือนกันแท้ๆ แต่บางทีอ่านได้แบบหนึ่ง บางทีก็อ่านอีกแบบหนึ่ง ตกลงมันเป็นยังไงกันแน่? โพสนี้ของสุ่ยหลินก็หยิบเอาคำหลายเสียงตัวหนึ่งในภาษาจีนที่เจอบ่อยที่สุดมาเล่าให้แฟนเพจฟังค่ะ เรื่องราวจะเป็นยังไง ติดตามวิธีอธิบายไวยากรณ์ง่ายๆ สไตล์สุ่ยหลินได้ในโพสนี้เลยค่ะ

倒 เป็นคำหลายเสียงหรือ 多音字 อย่างที่บอก แถมยังเป็นได้ทั้งคำกริยา (动词) และคำวิเศษณ์ (副词) อีกด้วย แต่ในโพสนี้เราจะมาเจาะลึกกับ 倒  ที่เป็นคำวิเศษณ์ รวมไปถึงลักษณะการใช้ทางไวยากรณ์กันนะ

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน: 常常 VS 往往 บ่อยๆ ที่แตกต่าง

常常 VS 往往

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ วันนี้สุ่ยหลินขอนำเสนอคำอีกคู่ที่แปลเหมือนกันเลย คำทั้งสองนี้ก็คือ 常常 และ 往往 ซึ่งทั้งคู่เป็นคำวิเศษณ์ (副词) ใช้วางหน้าคำกริยา เพื่อสื่อว่ากริยา การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นบ่อยๆ ได้ด้วยกันทั้งคู่ แต่ทำไมต้องมีตั้งสองคำ? มีไว้แล้วต่างกันยังไง??  งั้นเรามาดูความแตกต่างของ 常常 และ 往往  ในโพสนี้กับสุ่ยหลินค่ะ

มาสอบ HSK กันเถอะ (ประโยชน์เยอะ!)

มาสอบ HSK4

HSK เรื่องนี้มีที่มา

สมัยสุ่ยหลินยังเป็นสาวน้อย ทำงานมาระยะนึง เกิดหมด passion ในงานที่ทำ อยากไปเรียนต่อเมืองนอกเป็นความฝันอันสูงสุด หันไปหันมา เพื่อนไปเรียนเมืองนอกกลับมาก็เยอะแล้ว เราไปเรียนทีหลังต้องสร้างความแตกต่าง ให้ไม่เหมือนใคร ไม่งั้นเป็น follower เบอร์ 2 โลกไม่จำไปทำไม เลยเลือกไปเรียนเมืองจีนสมัยที่เมืองจีนไม่มีอะไรฮิต แถมถูกถามว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์หรือไร แต่ที่ดีก็คือค่าเรียนยังไม่แพงมากเมื่อเทียบกับเมืองฝรั่งเหมาะกับสุ่ยหลินที่หากินบนลำขาของตัวเอง

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน: 确定 กับ 确认 อะไรคือคอนเฟิร์มคะคุณ??

确定 VS 确认

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ วันนี้สุ่ยหลินมีคู่คำที่ชวนงงมากมายก่ายกองมานำเสนอค่ะ ถือว่าเป็นคำศัพท์เบื้องต้นที่คนเรียนภาษาจีนต้องรู้ แต่ปัญหาดันคือ 2 คำนี้มีความใกล้เคียงกันมาก แม้แต่คนจีนบางคนก็ใช้สลับกันไปมา ถามแน่ๆ ว่าตอนไหนใช้คำไหน คนจีนบางคนยังตอบได้ไม่เคลียร์แล้วเราคนไทยอย่างเราจะเหลือเหรอคะ?  อย่ากระนั้นเลย อ่านโพสนี้ของสุ่ยหลินรับรองว่าเข้าใจความแตกต่างมากกว่าเดิม เพิ่มเติมคือเลือกใช้ถูกด้วย มาติดตามกันเลยค่ะ

曾经 VS 已经 “เกิดขึ้นแล้ว” ที่แตกต่าง

曾经VS已经

สวัสดีค่ะแฟนเพจของสุ่ยหลิน^^ วันนี้สุ่ยหลินขอพูดถึงคำศัพท์ภาษาจีน 2 ตัวได้แก่ 曾经 และ 已经 ค่ะ เชื่อว่าแฟนเพจที่เคยเรียนภาษาจีนมาสักระยะรู้จัก 已经 เป็นอย่างดีเพราะแปลคล้ายๆ ภาษาไทยว่า “แล้ว” ส่วน 曾经 บางคนเคยเจอ บางคนไม่เคยเจอ ทั้งคู่เป็นคำวิเศษณ์ (副词) โดยสามารถใช้วางไว้หน้าคำกริยาเพื่อบอกว่าเหตุการณ์หรือการกระทำนั้น “เกิดขึ้นในอดีต” ได้

แต่รู้หรือเปล่าคะว่าสองคำนี้ถึงแม้ใช้กับอดีตเหมือนกัน แต่เซนส์ของความหมายกลับไม่เหมือนกันเลยเพราะจุดเน้นต่างกัน ถ้าพูดถึงในแง่ไวยากรณ์ความหมายก็ไม่เหมือนกันด้วยนะคะ ไม่เหมือนยังไง? ตรงไหน?? ติดตามในโพสนี้ของสุ่ยหลินได้เลยค่ะ