เรียนจีน

Home เรียนจีน

5 รูปประโยคน่ารู้ของ 很 ^^

5-รูปประโยคน่ารู้ของ-很

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ คำว่า 很 ถือว่าเป็นคำที่พวกเราผู้เริ่มต้นเรียนภาษาจีนรู้จักกันดีที่สุดคำหนึ่งเลยล่ะค่ะ เพราะประโยคแรกๆ ในการเรียนภาษาจีนก็คือ 你好吗? คำตอบเบสิคคือ 我很好!

คำว่า 很 เป็นคำวิเศษณ์ – 副词 ใช้บอกระดับของคำกริยาหรือคุณศัพท์ ถึงแม้จะเป็นคำแรกๆ ที่เรารู้จักแต่ส่วนใหญ่พวกเรารู้จักกันแค่ 很 + คำคุณศัพท์ เช่น 很好 แต่จริงๆแล้ว 很 มีวิธีการใช้อย่างอื่นอีกมาก ดูเหมือนเป็นคำง่ายๆ แต่ใช้จริงได้หลากหลายค่ะ โพสนี้สุ่ยหลินจึงขอนำเสนอการใช้ 很 แบบละเอียดยิบ เรียกว่าอ่านโพสนี้จบ รับรองว่าใช้ 很 ได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่วกันเลยทีเดียว

ไวยากรณ์สั้นๆ ง่ายๆ แต่ประโยชน์เพียบกับ 动不动 (จะขยับหรือไม่ขยับ??)

动不动

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^  วันนี้สุ่ยหลินขอนำเสนอไวยากรณ์จีนตัวนึงที่ดูเผินๆ ก็ธรรมดาไม่มีอะไรโดดเด่นให้จดจำอย่าง 动不动 [dòngbudòng]  หลายคนเห็นแล้วก็งั้นๆ ไม่เห็นจะมีอะไรน่าสนใจ ก็แค่รูปแบบ Verb + 不 + Verb ธรรมดานี่นา คือการซ้ำกริยาโดยมี 不 มาคั่นก็เท่านั้น ก็เหมือนกับ 懂不懂 เข้าใจหรือไม่เข้าใจ,来不来 มาหรือไม่มา,要不要 เอาหรือไม่เอา ,去不去 ไปหรือไม่ไป ซึ่งเราเห็นการใช้แบบนี้บ่อยๆในประโยคคำถามเยอะแยะ เช่น

你到底去不去?
Nǐ dàodǐ qùbuqù?
ตกลงเธอจะไปหรือไม่ไป?

แบบเนี้ย ซึ่งจริงๆ ก็ใช่ค่ะ 动不动 ก็อาจจะแปลได้ว่า ขยับหรือไม่ขยับ เช่น
它动不动?
Tā dòngbudòng?
มันขยับหรือเปล่า? (หรือตายแหล่ว)

แต่จริงๆ แล้ว 动不动 มีลักษณะการใช้อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการมองว่า 动不动 เป็นก้อนเดียวกัน (ไม่ได้แยกออกมาเป็น Verb + 不 + Verb) เรียกง่ายๆ ว่าเป็นคำเดียวกันกันนั่นเอง จะเป็นยังไง? ง่ายเหมือนที่สุ่ยหลินบอกหรือเปล่าติดตามอ่านได้ในโพสนี้ของสุ่ยหลินค่ะ

3 ความหมายของ 到底 และพวกพ้องของออเจ้า

3-ความหมายของ-到底

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ โพสวันนี้จั่วหัวได้ให้เข้ากับสมัยนิยมซะหน่อย ใครๆ ก็ดูออเจ้า สุ่ยหลินก็ดูเหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะเหนื่อย ละครจบดึก แล้วพรุ่งนี้ต้องตื่นไปทำงานแต่เช้า แต่ถามว่าท้อมั๊ย? บอกเลยว่าไม่! ทำงาน 认真 อย่างนี้มั๊ย? บอกเลยอีกเหมือนกันว่าคิดดูก่อน! TT

เข้าเรื่องของเราดีกว่า วันนี้สุ่ยหลินกลับมาพร้อมกับโพสคุยเรื่องคำว่า “ในที่สุด” “สุดท้าย” ค่ะ คำนี้ในภาษาไทยของเรา สามารถแปลเป็นภาษาจีนได้เพียบเลยค่ะ ซึ่ง 到底 [dàodǐ] ก็เป็นหนึ่งในนั้น สุ่ยหลินขอเริ่มอธิบายจาก 到底 ก่อนนะคะ จากนั้นจะค่อยๆขยายความไปยังคำศัพท์จีนตัวอื่นๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกันนะคะ

ติดตามเรื่องสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดจากสุ่ยหลินค่า

จริงๆ แล้ว “สอบจอหงวน” ไม่ได้เรียกชื่อว่าสอบจอหงวนสักหน่อยนะ

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ ห่างหายจากโพสประวัติศาสตร์กันไปนานเลยนะคะ  วันนี้สุ่ยหลินกลับมาเล่าให้ฟังเหมือนเคยค่ะ เรื่องที่สุ่ยหลินอยากเล่าให้ฟังในวันนี้เป็นเรื่องการสอบ “จอหงวน” ในหนังจีน ละครจีนที่เราเห็นกันบ่อยๆ นี่่แหละค่ะ

หลายคนอาจคิดว่า ว้า! รู้มาตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว อ๊ะๆๆ อย่าเพิ่งสิจ๊ะ สุ่ยหลินจะบอกว่าที่เราเห็นหรือได้ยินในหนัง ในละครน่ะ กับเรื่องจริงน่ะมีจุดไม่เหมือนกันอยู่นะ เอาง่ายๆ แค่ชื่อ “สอบจอหงวน” ภาษาจีนจริงๆ ไม่ได้เรียกชื่อแบบนี้ซะหน่อย เรื่องราวจะเป็นยังไง? สุ่ยหลินรับประกันความมันส์ เอ้ยย!! ความสนุกเรื่องเล่าสไตล์สุ่ยหลินในโพสนี้ค่าาา

รู้จัก 不 อีก 8 กระบวนท่าที่รับรองว่าหลายคนไม่คุ้นเคย

不

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ 不 ถือว่าเป็นอีกคำหนึ่งเลยค่ะที่เราเจอกันบ่อยๆ มากๆ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นตัวอักษรจีนตัวแรกๆ ที่คนเรียนภาษาจีนต้องรู้จักเลยนะคะ ถ้าพูดกันตามไวยากรณ์แล้วตัวอักษร 不 เป็นคำวิเศษณ์(副词)ที่เมื่อเอาไปวางหน้าคำคุณศัพท์ คำกริยา ก็ที่ทำหน้าที่ปฏิเสธคำๆ นั้นค่ะ ถือว่าเป็นพี่น้องกับ 没 ซึ่งทำหน้าที่ปฏิเสธได้เช่นกัน แต่ว่าความหมายและวิธีการใช้แตกต่างกันอยู่ ไม่เหมือนกัน 100% ทำเอาหลายคนมีงง

แต่มาครั้งนี้ สุ่ยหลินจะเอาการใช้ 不 ในรูปแบบอื่นที่เราอาจจะไม่คุ้นเคย มาเล่าเป็นตัวอักษรให้แฟนเพจอ่านค่ะ รับรองได้ว่าแปลกไปจากที่เคย แต่น่าสนใจมากๆ และที่สำคัญเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันเกร๋ๆ ได้เลยค่ะ ติดตามค่ะ

难免 VS 不免 ยากจะเลี่ยงหรือเลี่ยงไม่ได้???

难免 不免

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ วันนี้สุ่ยหลินมีคำคู่อีกหนึ่งชุดมานำเสนอค่ะ ถือว่าทั้งสองคำนี้มีความหมายใกล้เคียงกันมากเลยนะ เพราะทั้งคู่ต่างก็มีความหมายว่า “不容易避免” หรือ “免不了” แปลเป็นไทยก็คือ “ยากที่จะหลีกเลี่ยงได้” หรือจะแปลว่า “ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้” ก็ได้ มักใช้กับสถานการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะเหตุผลบางอย่าง และบ่อยครั้งใช้แทนกันได้ด้วยนะคะ แต่ทำไมต้องมี 2 คำ มี 2 คำเมื่อไหร่แปลว่าต้องมีจุดที่ไม่เหมือนกันสินะ ไม่งั้นจะมีไปทำไม? ติดตามสุ่ยหลินอธิบายได้ในโพสนี้เลยค่ะ

ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน:ก็ทั่วๆ ไปกับ 普通 และ 一般?

一般 普通

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ วันนี้ซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือนกลับพบกันแฟนเพจอีกแล้วนะคะ หลังจากห่างหายไปสักพัก แต่ไม่ได้ไปไหนไกลหรอกค่า ไปซุ่มตัวเตรียมเนื้อหาให้แฟนเพจอ่านต่างหาก อิ อิ

วันนี้สุ่ยหลินกับซีรีส์คำเหมื๊อนเหมือนมานำเสนอแฟนเพจให้อ่านในตอน 普通 [pǔtōng]  และ 一般 [yībān] ซึ่งทั้งสองคำต่างก็แปลเป็นไทยว่า “ปกติ” หรือไม่ก็ “ทั่วไป” เอ?… ถ้าอย่างนั้นทั้งสองคำนี้ใช้แทนกันได้หรือเปล่า?

สุ่ยหลินขอเริ่มจากการจัดมาชุดแรก 动脑子 บริหารสมองกันหน่อย!
“一般人” (คนธรรมดาๆ) 、 “他很一般” (เขาก็ทั่วๆ ไป ก็งั้นๆ) 、“一般情况” (สถานการณ์ทั่วๆ ไป)、 “水平一般” (ระดับความสามารถทั่วๆ ไป)

สามารถใช้ 普通 มาแทนกลายเป็น
“普通人” 、 “他很普通”、“普通情况” 、 “水平普通”

แบบนี้ก็ได้เหรอ? แล้วถูกมั๊ยนะ??  อยากรู้มาติดตามอ่านกันต่อกับสุ่ยหลินเลยค่ะ

这么 กับ 那么 ขนาดนี้ ขนาดนั้น ขนาดไหน???

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ พวกเราที่เรียนภาษาจีนมาสักพักเนี่ย จะต้องเคยได้ยินครูหรือคนจีนพูดคำว่า 这么 หรือ 那么 บ้างแน่ๆ เช่น 这么好! หรือ 那么好! ตกลงแปลว่า ดี ใช่ไหม?  หรือดียังไง?? ทำไมต้องมี 这么 หรือ 那么 อยู่ข้างหน้าล่ะ? มาติดตามสุ่ยหลินเล่าให้ฟังในโพสนี้ค่ะ ถือว่า “จำเป็น” และ “สำคัญ” สำหรับเราที่ต้องรู้เลยทีเดียว เพราะคนจีนพูดบ่อยมากๆ จ๊ะ

ฉันทำไม่เสร็จหรอก!! มวยถูกคู่ระหว่าง 做不了了 กับ 做不完了

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ วันนี้สุ่ยหลินขอมาแปลกเปิดโพสด้วยคำถาม ถามว่าถ้าจะบอกว่า “ฉันทำไม่เสร็จหรอก” เราควรจะต้องใช้อะไรดีระหว่าง 我做不了了。กับ 我做不完了。ซึ่งทั้งคู่คือการใช้บทเสริมบอกความเป็นไปได้ค่ะ (可能补语)

ถ้าดูทางกายภาพแล้วจะเห็นว่ามีจุดที่ต่างกันก็คือ วลีนึงมี 了 [liǎo] เป็น 可能补语 และอีกวลีนึงมี 完 เป็น 可能补语 เท่านั้นเอง อ่าว???

แล้วความหมายมันไม่เหมือนกันเหรอเนี่ย?? ไอ้เราก็เข้าใจมาตั้งนานว่าทั้ง 了 และ 完 ต่างก็แปลว่า “เสร็จ”  หรือ “สิ้นสุด” นี่นา จริงๆ แล้วทั้งคู่เหมือนหรือต่างกันกันแน่ โพสนี้มารู้ให้แจ้งกระจ่างกับสุ่ยหลินค่ะ

ซีรีส์คำเดียวกัน แต่ไหงอ่านไม่เหมือนกัน ตอน: 倒 อ่านได้ 2 เสียง มีตั้ง 4 ความหมาย??

倒--2-เสียง-4-ความหมาย

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน^^ วันนี้สุ่ยหลินอยากแนะนำให้ตัวอักษรตัวหนึ่งให้แฟนเพจรู้จักค่ะ ซึ่งตัวอักษรตัวนี้ หลายคนก็รู้จักกันดีนั่นก็คือ 倒 ถือเป็นอีกอักษรจีนตัวหนึ่งค่ะที่เป็น 多音字 คือมีหลายเสียงโดยอักษร
倒 อ่านออกเสียงได้ 2 เสียง คือ dǎo และ dào ซึ่งไม่ได้มีแค่ 2 ความหมาย ฮ่วย!  แต่มีถึง 4 ความหมาย ก่อนจะปวดหัวไปมากกว่านี้ มาอ่านที่สุ่ยหลินอธิบายให้ฟังดีกว่าจ๊ะ